Menu
The Company operates its businesses in a fair manner, upholding the long-practiced culture under an ethical framework, which has been developed to suit the ongoing economic and social changes, and being responsible towards every stakeholder groups. As a result, in 2016 the Company was rated as being “Excellent” in the Corporate Governance Assessment of Thai Listed Companies undertaken by the Stock Exchange of Thailand (SET).
The Company’s Board of Directors has established the Good Corporate Governance Policy, as part of the Company’s overall policies, which came into effect in 2004. The Good Corporate Governance Policy Guidelines have been developed and, since then, regularly revised to be current and appropriate to the latest situation.
The Board of Directors appointed a Good Corporate Governance Committee in 2012 to work with the Good Corporate Governance Working Group, which was also established in the same year. This working group is responsible for monitoring, assessing and improving the Company’s Good Corporate Governance Policy, so that it remains appropriate and consistent with the changing economic and social environments as well as with the relevant and applicable laws. It also has to ensure that it is consistent with the Corporate Governance Policy of Thai Listed Companies as specified by the Stock Exchange of Thailand and involved regulatory authorities.
The Board of Directors approved and published the “Good Corporate Governance Policy (3rd Edition, Revised – 2013)” in order to be appropriate and correspond to the amended regulations which encompasses the following key points.
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบและผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสังคมโดยรวมใน ด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการของบริษัทฯ และยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใส ตรวจสอบได้ มีจริยธรรม เคารพหลักสิทธิมนุษยชน และผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย รวมถึง การปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดอื่นๆ และแนวทางปฏิบัติสากลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมุ่งมั่นพัฒนา ปรับปรุง เพื่อสร้างรากฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจที่ เติบโตอย่างยั่งยืน
บริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบตลอดห่วงโซ่อุปทาน ขับเคลื่อน ติดตามและประเมินผล เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และลดผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ส่งเสริมและปลูกฝังด้านความปลอดภัยให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อยกระดับคุณภาพการทำงานและการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน
มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักบรรษัทภิบาล มีความโปร่งใส เป็นธรรมและตรวจสอบได้ ภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ควบคู่ไปกับการส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพเพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตอย่างยั่งยืน
นโยบายและแนวปฏิบัติ เรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2562)
นโยบาย :
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีคุณธรรม โปร่งใสและเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย จึงให้ความสำคัญกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ โดยกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท ตลอดจนสนับสนุนให้ลูกค้า คู่ค้า ผู้รับจ้าง หรือผู้รับจ้างช่วงอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัตินี้ รวมถึงข้อบังคับและกฎหมายของประเทศไทยในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยเคร่งครัด
1. คำนิยาม :
บริษัท หมายถึง บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
กรรมการ/ผู้บริหาร/ พนักงาน หมายถึง กรรมการบริษัท ผู้บริหารทุกระดับชั้น พนักงานทุกระดับชั้น ของบริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
การทุจริตคอร์รัปชั่น
หมายถึง การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติในตําแหน่งหน้าที่ หรือใช้อํานาจหน้าที่โดย มิชอบ เพื่อแสวงหาประโยชน์อันมิควรในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการให้หรือรับสินบน การนําเสนอ การให้คํามั่นว่าจะให้ การขอ หรือเรียกร้อง ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ในทางทรัพย์สินคือ เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ไม่ใช่ทรัพย์สิน อย่างไม่เหมาะสมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานเอกชน หรือบุคคลอื่นใดที่ดําเนินธุรกิจกับบริษัท เพื่อให้บุคคลดังกล่าวกระทําหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ได้มาหรือได้เปรียบต่อธุรกิจ หรือเพื่อเอื้อประโยชน์อื่นใดที่ไม่เหมาะสมทางธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้รวมถึงการกระทำในรูปแบบดังต่อไปนี้
1. การให้ เสนอให้ หรือรับเงินสด หรือสิ่งของแทนเงินสด สินบน หรือบริการใดๆ กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อ
1.1. เพื่ออำนวยความสะดวกหรือความรวดเร็วในการดำเนินธุรกิจ หรือการขอรับบริการด้านต่างๆ
1.2. เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจเหนือกว่า คู่แข่งขันรายอื่น หรือให้ได้มาซึ่งความแน่นอนว่าจะได้รับเลือกให้เสนอสินค้า/บริการ
1.3. เพื่อให้เกิดการเพิกเฉยหรือแก้ไขให้กลายเป็นถูก โดยเจ้าหน้าที่ภาครัฐหรือหน่วยงานเอกชน จากการปฏิบัติที่อาจไม่ถูกต้อง
2. การให้ เสนอให้ หรือรับของขวัญ ของกำนัล หรือความช่วยเหลือใดๆ ที่มีมูลค่าเกินปกติวิสัย แม้ในโอกาสตามประเพณีนิยม หรืองานเพื่อการกุศลใดๆ
3. การให้ เสนอให้ หรือการรับตำแหน่ง หน้าที่การงาน หรือถือหุ้นในกิจการบางประเภทที่สามารถใช้อำนาจหน้าที่ของตนแสวงหาผลประโยชน์ได้
2. หน้าที่และความรับผิดชอบ
2.1 คณะกรรมการบริษัท มีหน้าที่กําหนดนโยบายและกํากับดูแล ให้มีระบบการสนับสนุนการต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้พนักงานทุกคนทุกระดับได้เข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
2.2 คณะกรรมการตรวจสอบ มีหน้าที่สอบทานการรายงานทางการเงินและบัญชี ระบบการควบคุมภายใน ระบบการตรวจสอบภายใน และระบบการบริหารความเสี่ยง ให้มีความเหมาะสม มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ตลอดจนรับเรื่องการแจ้งเบาะแสการทุจริตคอร์รัปชั่น ที่อาจเกิดจากคนในบริษัทมีส่วนเกี่ยวข้อง พิจารณาตรวจสอบข้อเท็จจริง และเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการบริษัทร่วมกันพิจารณา ลงโทษ หรือแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2.3 คณะกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดี มีหน้าที่กํากับดูแล ให้คําปรึกษาและติดตามให้มีการปฏิบัติตามนโยบายการกํากับดูแลกิจการที่ดีและจรรยาบรรณทางธุรกิจ ตลอดจนนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
2.4 คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง มีหน้าที่ประเมินความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่น ตลอดจนจัดทํามาตรการและแนวทางป้องกันความเสี่ยงจากการทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อนําเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการกํากับดูแลกิจการที่ดี
2.5 กรรมการผู้จัดการ และผู้บริหาร มีหน้าที่นํานโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นไปปฏิบัติ โดยต้องกําหนดให้มีระบบสนับสนุนนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น และสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมถึงทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของธุรกิจ ระเบียบ ข้อบังคับและข้อกําหนดของกฎหมาย
3. แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการต่อต้านการคอร์รัปชั่น
บริษัทไม่ยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ ซึ่งครอบคลุมถึงธุรกิจทั้งหมดทั้งในประเทศและต่างประเทศ คณะกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัท มีหน้าที่และความรับผิดชอบต้องปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเคร่งครัด โดยห้ามเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม ดังนี้
3.1 ไม่มีพฤติกรรมใด ที่เป็นการแสดงถึงเจตนาว่าเป็นการทุจริตคอร์รัปชั่น การให้ หรือรับสินบนแก่หรือจากเจ้าหน้าที่ของรัฐและเอกชนหรือผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับบริษัท เพื่อให้ได้มาหรือคงไว้ซึ่งธุรกิจ หรือ ความได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและ/หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
3.2 ไม่ละเลยหรือเพิกเฉย เมื่อพบเห็นการกระทําที่เข้าข่ายการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัท โดยถือเป็นหน้าที่ที่ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือหน่วยงานหรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ
3.3 บริษัท ให้คำมั่นว่าจะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองบุคคลที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือแจ้งเบาะแสเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่น ตามที่กําหนดไว้ในมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่น
3.4 พนักงานรายใดที่ได้รับการพิสูจน์จนแน่ชัดว่ากระทําการทุจริตคอร์รัปชั่น จะถูกพิจารณาบทลงโทษตามระเบียบของบริษัท เรื่องวินัยพนักงาน ตลอดจนอาจได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทํานั้นผิดกฎหมาย
3.5 บริษัท ไม่มีนโยบายลดตําแหน่ง ลงโทษ หรือให้ผลทางลบแก่พนักงานที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทํานั้นจะทําให้บริษัทสูญเสียโอกาสทางธุรกิจก็ตาม
3.6 บริษัท ให้ความสําคัญในการเผยแพร่ ให้ความรู้ และทําความเข้าใจกับบุคคลที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับบริษัท หรืออาจเกิดผลกระทบต่อบริษัท ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นนี้
3.7 บริษัท จัดให้มีกระบวนการตรวจสอบและระบบการควบคุมภายในที่เพียงพอและเหมาะสม อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ภายใต้การดูแลของคณะกรรมการตรวจสอบอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อป้องกัน มิให้มีการปฏิบัติที่เข้าข่ายหรือสนับสนุนให้มีการทุจริตคอร์รัปชั่น
3.8 บริษัท จัดให้มีกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคลที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของบริษัท ในการดำเนินการตามมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น ตั้งแต่การคัดเลือก การอบรม การประเมินผลงาน การให้ผลตอบแทน และการเลื่อนตําแหน่ง
3.9 เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดําเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดการทุจริตคอร์รัปชั่น จึงกำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนทุกระดับของบริษัท ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความระมัดระวัง ในเรื่องดังต่อไปนี้
3.9.1 การให้ความช่วยเหลือทางการเมือง
หมายถึง การให้การสนับสนุนทางการเงิน สิ่งของ และ/หรือการเข้าร่วมกิจกรรม ตลอดจนการส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองในนามบริษัท เพื่อให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบทางธุรกิจทางการค้า
บริษัท ยึดมั่นในความเป็นกลางทางการเมือง จึงมีนโยบายไม่ให้การสนับสนุนทางการเมือง ทั้งทางตรงและทางอ้อมแก่พรรคการเมือง เจ้าหน้าที่ของพรรคการเมือง ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง องค์กรหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับการเมือง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจ่ายสินบน รวมถึงไม่อนุญาตให้ผู้บริหารและพนักงานกระทำการอันใดที่เกี่ยวข้องกับการเมืองในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ของบริษัท ตลอดจนไม่อนุญาตให้ใช้ทรัพยากรของบริษัทเพื่อดำเนินการดังกล่าว โดยกำหนดแนวปฏิบัติดังนี้
1) บริษัท ไม่สนับสนุนทางการเงินหรือสิ่งของให้แก่พรรคการเมือง นักการเมืองหรือผู้สมัครรับเลือกตั้งทางการเมืองใดๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้บริษัท
2) พนักงานมีสิทธิเสรีภาพเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ แต่จะต้องไม่แอบอ้างความเป็นพนักงาน หรือนําทรัพย์สิน อุปกรณ์ หรือเครื่องมือใดๆของบริษัทไปใช้เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการใดๆทางการเมือง หากเข้าร่วมจะต้องพึงระมัดระวังไม่ให้ดําเนินการใดๆ ที่ทําให้เกิดความเข้าใจได้ว่าบริษัทให้การสนับสนุนหรือฝักใฝ่พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง
3.9.2 การบริจาคเพื่อการกุศลและเงินสนับสนุน
บริษัท สามารถบริจาคเพื่อการกุศลหรือให้เงินสนับสนุนได้ หากเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมตอบแทนสังคม โดยเป็นการประชาสัมพันธ์และเสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้บริษัท และมิได้มุ่งหวังผลตอบแทนทางธุรกิจ เช่น การให้ความรู้ การสนับสนุนกิจกรรมทางวัฒนธรรม กิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมเพื่อการศึกษาและกีฬา เป็นต้น โดยกำหนดแนวปฏิบัติ ดังนี้
• การบริจาคเพื่อการกุศลด้วยเงินสดหรือทรัพย์สินของบริษัท
ต้องดำเนินการในนามของบริษัทเท่านั้น โดยผู้รับบริจาคต้องเป็นมูลนิธิ องค์กรสาธารณกุศล วัด โรงพยาบาล สถานพยาบาล หรือองค์กรที่ดำเนินงานเพื่อประโยชน์ต่อสังคม ที่มีใบรับรอง หรือเชื่อถือได้ และสามารถตรวจสอบได้
การบริจาคเพื่อการกุศลหรือการสนับสนุนไม่ว่าจะเป็นเงินหรือทรัพย์สินหรือกิจกรรมหรือโครงการแก่สถานการกุศล จะต้องดําเนินการด้วยความโปร่งใส และถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องระบุชื่อผู้บริจาคหรือผู้ให้ในนาม “บริษัท” เท่านั้น และผ่านขั้นตอนการอนุมัติการจ่ายตามระเบียบของบริษัทที่กําหนดไว้
• การบริจาคเพื่อการกุศลด้วยเงินสดหรือทรัพย์สินส่วนตัวในนามส่วนตัว
กรรมการ ผู้บริหาร ตลอดจนพนักงานทุกคนทุกระดับ สามารถบริจาคเงินสดหรือทรัพย์สินส่วนตัวในนามส่วนตัวได้ แต่ต้องไม่เกี่ยวข้องหรือทำให้เกิดข้อสงสัยได้ว่าเป็นการกระทำที่ แอบแฝง ส่อทุจริต หรือหวังผลประโยชน์อันไม่ชอบธรรมแก่บริษัท
3.9.3 ของขวัญ และค่าใช้จ่ายเลี้ยงรับรอง
บริษัท ตระหนักดีว่าการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคู่ค้า รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจเป็นสิ่งสําคัญที่จะนํามาซึ่งความสําเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนของบริษัท บริษัทจึงได้กําหนดแนวปฏิบัติให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน สามารถให้ของขวัญและเลี้ยงรับรองพันธมิตรทางธุรกิจได้ หากเข้าเงื่อนไขทุกข้อ ดังต่อไปนี้
1) ประเภทของขวัญหรือการเลี้ยงรับรอง รวมถึงมูลค่าต้องมีความเหมาะสมกับสถานการณ์ หรือตามเทศกาลที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ
2) ต้องไม่เป็นการกระทําเพื่อครอบงํา ชักนําหรือตอบแทนบุคคลใดให้กระทําการที่ไม่เหมาะสม เพื่อได้มาซึ่งความได้เปรียบ หรือการช่วยเหลือหรือให้ผลประโยชน์ต่อบริษัท
3) ต้องเป็นการให้ในนามบริษัท ไม่ใช่ในนามของกรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน และเป็นการดำเนินการอย่างเปิดเผย
4) ต้องเป็นไปตามระเบียบ และหลักเกณฑ์ของบริษัท
4. มาตรการและช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
บริษัท กำหนดมาตรการรองรับการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน เกี่ยวกับการกระทําผิดกฎหมาย จรรยาบรรณทางธุรกิจ หรือพฤติกรรมที่อาจส่อถึงการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยจัดช่องทางการสื่อสารที่หลากหลาย เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียสามารถแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนให้บริษัทได้อย่างสะดวกและเหมาะสม มายังช่องทางการรับเรื่องที่กำหนดไว้ ดังนี้
ทางช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียน (Whistle Blower) บนหน้าเว็บไซต์ของบริษัท ซึ่งผู้ร้องเรียนสามารถเลือกส่งให้กรรมการอิสระรายใดหรือทุกรายก็ได้ ดังนี้
– นายเอ้งฮัก นนทิการ enghug_non@srithaisuperware.com
– นายสุชาติ บุญบรรเจิดศรี suchat_boo@srithaisuperware.com
– นายศุภโชค เลี่ยมแก้ว supachok_liam@srithaisuperware.com
– นางสิริพร ไศละสูต siriporn_sai@srithaisuperware.com
ทางจดหมายส่งถึงกรรมการอิสระรายนั้นๆ โดยระบุชื่อกรรมการอิสระ และที่อยู่คือบริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) หรือ ตู้ ปณ. 84 เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140
ทั้งนี้ การร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสนั้น ผู้ร้องเรียนไม่จำเป็นต้องเปิดเผยตัวตน แต่หากเปิดเผยก็จะสามารถช่วยให้บริษัทสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือแจ้งผลของการดำเนินการได้
บริษัท จะปกปิดชื่อ ที่อยู่หรือข้อมูลใดๆ ที่อาจระบุตัวผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ข้อมูล โดยเก็บรักษาข้อมูลของ ผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ และจํากัดเฉพาะผู้ที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดําเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้
บริษัท กำหนดให้เลขานุการคณะกรรมการสอบสวน ซึ่งบริษัทแต่งตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่สอบสวนหาข้อเท็จจริง ทำหน้าที่รับผิดชอบเก็บรักษาข้อมูล ข้อร้องเรียนและเอกสารหลักฐานของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ ห้ามเปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง เว้นแต่เป็นการเปิดเผยตามหน้าที่ที่กฎหมายกําหนด พร้อมทั้งจัดให้มีมาตรการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน พยาน และบุคคลที่ให้ข้อมูลในการสืบสวนข้อเท็จจริง เพื่อไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน อันตรายใด หรือ ความไม่ชอบธรรม อันเกิดมาจากการแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียนดังกล่าวด้วย
5. ขั้นตอนการดําเนินการสืบสวน และบทลงโทษ
5.1 บริษัท แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองข้อมูล สืบสวนข้อเท็จจริง และแจ้งผลการตรวจสอบเป็นระยะๆ ให้ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนได้ทราบ(หากเปิดเผยข้อมูลที่ติดต่อ) พร้อมทั้งรายงานคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี และคณะกรรมการตรวจสอบ ตามลำดับ
5.2 หากการสืบสวนข้อเท็จจริงแล้วพบว่า ข้อมูลหรือหลักฐานที่มี มีเหตุผลอันควรเชื่อได้ว่าผู้ที่ถูกกล่าวหาได้กระทําการทุจริตคอร์รัปชั่นจริง บริษัทจะให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหา และพิสูจน์ตนเอง โดยการหาข้อมูลหรือหลักฐานเพิ่มเติมที่แสดงให้เห็นว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทําอันทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นตามที่ถูกกล่าวหา
5.3 หากผู้ถูกกล่าวหาได้กระทําการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นจริง โดยผู้กระทําการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นไม่ว่าจะเป็น กรรมการ ผู้บริหาร หรือพนักงาน ถือว่าเป็นการกระทําผิดต่อนโยบายต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นและจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัท จะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทกําหนดไว้
ทั้งนี้ หากการกระทําทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นเป็นการกระทําที่ผิดต่อกฎหมาย บริษัทจะนำผู้กระทําผิดเข้ากระบวนการยุติธรรม ซึ่งอาจต้องได้รับโทษทางกฎหมายด้วย
6. การอบรมและการสื่อสาร
6.1 บริษัท จัดให้มีการสื่อสารและเผยแพร่นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมถึงช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนให้บุคคลภายในบริษัทรับทราบผ่านหลากหลายช่องทาง เช่น การปฐมนิเทศกรรมการและพนักงานใหม่ งานอบรมหรือสัมมนา การติดประกาศในบอร์ดประชาสัมพันธ์ ระบบ Information อีเมล์ เว็บไซต์ของบริษัท เป็นต้น เพื่อให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจ และตระหนักในหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ตามนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง
6.2 บริษัท สื่อสารและเผยแพร่นโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น รวมถึงช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนไปยังสาธารณชน บริษัทย่อย บริษัทร่วม ตลอดจนตัวแทนทางธุรกิจ คู่ค้าทางธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสียผ่านช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ของบริษัท รายงานประจําปี แบบแสดงรายการข้อมูลประจําปี เป็นต้น เพื่อสร้างความเข้าใจและสนับสนุนให้ยึดมั่นในมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมเกี่ยวกับการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นเช่นเดียวกับบริษัท
อนุมัติโดยที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ .. กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
…………………………………….. ……………………………………..
(นายสุชาติ บุญบรรเจิดศรี) (นายสนั่น อังอุบลกุล)
ประธานกรรมการกำกับดูแลกิจการที่ดี ประธานกรรมการ
กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ
ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 2 (พ.ศ. 2558)
คำจำกัดความ
บริษัท หมายถึง บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
คณะกรรมการบริษัท หมายถึง คณะกรรมการบริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
1.วัตถุประสงค์
คณะกรรมการตรวจสอบ คือ คณะกรรมการชุดย่อยที่คณะกรรมการบริษัทแต่งตั้งเพื่อช่วยแบ่งเบาภารกิจในการปฏิบัติงานและเพื่อให้กิจการมีระบบกำกับดูแลที่ดี คณะกรรมการตรวจสอบ จัดตั้งขึ้นเพื่อมุ่งหวังถึงการเสริมสร้างประสิทธิภาพในการดำเนินการและการเพิ่มมูลค่าให้องค์กรในด้าน
– การรายงานข้อมูลทางการเงิน
– การเลือกใช้นโยบายการบัญชีที่เหมาะสม
– การบริหารทางการเงิน
– ระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน
– การปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
– การจัดการและการควบคุมความเสี่ยงทางธุรกิจ
– การเสนอแนะการแต่งตั้งและการประเมินผลงานของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
ในการปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจสอบ จะต้องดำรงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ในการทำงานกับคณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร รวมทั้งผู้ตรวจสอบภายนอกและผู้ตรวจสอบภายในของบริษัทและเพื่อให้การดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรรมการตรวจสอบแต่ละท่านจำเป็นต้องพัฒนาและดำรงไว้ซึ่งความชำนาญงานและความรอบรู้ตลอดจนความเข้าใจในหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมทั้งเข้าใจในธุรกิจและความเสียหายของบริษัท
2.องค์ประกอบและโครงสร้าง
2.1 คณะกรรมการบริษัทเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยคัดเลือกจากกรรมการอิสระ ทั้งนี้คณะกรรมการตรวจสอบชุดดังกล่าวต้องมีอย่างน้อย 3 คน
2.2 กรรมการอิสระที่ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจสอบ ต้องมีคุณสมบัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด โดยต้องมีกรรมการตรวจสอบอย่างน้อย 1 คนที่มีความรู้และประสบการณ์เพียงพอที่จะทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชื่อถือของงบการเงินได้
2.3 วาระการดำรงตำแหน่งครั้งละไม่น้อยกว่า 3 ปี
2.4 ให้หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัททำหน้าที่เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบเกี่ยวกับการนัดหมายการประชุม จัดเตรียมวาระการประชุม นำส่งเอกสารการประชุมและบันทึกรายงานการประชุม
3.คุณสมบัติของกรรมการตรวจสอบ
กรรมการตรวจสอบต้องเป็นกรรมการอิสระของบริษัท โดยกรรมการอิสระแต่ละคน ต้องมีคุณสมบัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ ดังนี้
โดยความสัมพันธ์ทางธุรกิจตามข้อความข้างต้น รวมถึงการทำรายการทางการค้าที่กระทำ เป็นปกติเพื่อประกอบกิจการ การเช่าหรือให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ รายการเกี่ยวกับสินทรัพย์หรือบริการ หรือการให้หรือรับความช่วยเหลือทางการเงิน ด้วยการรับหรือให้กู้ยืม ค้ำประกัน การให้สินทรัพย์เป็นหลักประกันหนี้สิน รวมถึงพฤติการณ์อื่นทำนองเดียวกัน ซึ่งเป็นผลให้บริษัทฯหรือคู่สัญญามีภาระหนี้ที่ต้องชำระต่ออีกฝ่ายหนึ่ง ตั้งแต่ร้อยละสามของสินทรัพย์ที่มีตัวตนสุทธิของบริษัทฯหรือตั้งแต่ยี่สิบล้านบาทขึ้นไป แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า ทั้งนี้ การคำนวณภาระหนี้ดังกล่าวให้เป็นไปตามวิธีการคำนวณมูลค่าของรายการที่เกี่ยวโยงกันตามประกาศคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ว่าด้วยการเปิดเผยข้อมูลและการปฏิบัติการของบริษัทจดทะเบียนในรายการที่เกี่ยวโยงกัน โดยอนุโลม แต่ในการพิจารณาภาระหนี้ดังกล่าว ให้นับรวมภาระหนี้ที่เกิดขึ้นในระหว่างหนึ่งปีก่อนวันที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับบุคคลเดียวกัน
4.อำนาจของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการบริษัท มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบ มีอำนาจดำเนินการดังต่อไปนี้
4.1 ปฏิบัติหน้าที่ภายในขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบที่กำหนดไว้ในกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ
4.2 เชิญกรรมการ ผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของบริษัทมาร่วมประชุมหรือชี้แจงหรือตอบข้อซักถามในเรื่องที่เกี่ยวกับกิจการและการดำเนินงานของบริษัท บริษัทย่อย บริษัทร่วมทุนและโครงการร่วมทุนที่อยู่ในขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
4.3 ปรึกษาหารือผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาของบริษัท (ถ้ามี) หรือจ้างที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญภายนอก ในกรณีที่จำเป็นด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัท
4.4 ตรวจสอบและสอบสวนตามที่จำเป็นในเรื่องต่าง ๆ ตลอดจนร้องขอข้อมูลของบริษัทตามที่จำเป็นเพื่อให้การปฏิบัติงานภายใต้หน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
5.หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบ เป็นคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่อง ซึ่งคณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่ดังนี้
5.1 สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเปิดเผยอย่างเพียงพอ โดยการประสานงานกับผู้สอบบัญชีและผู้บริหารที่รับผิดชอบจัดทำรายงานทางการเงินทั้งในรายไตรมาสและประจำปี คณะกรรมการตรวจสอบอาจแนะให้ผู้สอบบัญชี สอบทานหรือตรวจสอบรายการใดๆที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญในระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทก็ได้
5.2 สอบทานให้บริษัท มีระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบที่มีความเหมาะสมและมีประสิทธิผลโดยสอบทานร่วมกับผู้สอบบัญชีและผู้ตรวจสอบภายใน
5.3 พิจารณาคัดเลือก เสนอแต่งตั้งผู้สอบบัญชีของบริษัท พิจารณาเสนอค่าตอบแทนของผู้สอบบัญชี โดยคำนึงถึงความน่าเชื่อถือ ความเพียงพอของทรัพยากร และปริมาณงานตรวจสอบของสำนักงานสอบบัญชีนั้น รวมถึงพิจารณาเสนอให้เลิกจ้างผู้สอบบัญชีของบริษัท ตามความเหมาะสม
5.4 ตรวจสอบการทำรายการที่เกี่ยวโยงหรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้มีความถูกต้องตามประกาศของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
5.5 ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงิน การบริหารความเสี่ยง การปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของผู้บริหารและทบทวนร่วมกับผู้บริหารของบริษัทในรายงานสำคัญ ที่ต้องเสนอต่อสาธารณชนตามที่กฎหมายกำหนด
5.6 จัดทำรายงานกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบโดยเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ และรายงานดังกล่าวควรประกอบด้วยข้อมูลดังต่อไปนี้
5.6.1 ความเห็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดทำและการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินของบริษัทถึงความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้
5.6.2 ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในของบริษัท
5.6.3 เหตุผลที่เชื่อว่าผู้สอบบัญชีของบริษัท มีความเหมาะสมที่จะได้รับการแต่งตั้งต่อไปอีกวาระหนึ่ง
5.6.4 ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
5.6.5 ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น (“การทุจริต”)
5.6.6 รายงานอื่นใดที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่ และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
5.7 คณะกรรมการตรวจสอบควรจัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาในเรื่องต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย ดังต่อไปนี้
5.7.1 การพิจารณางบการเงินและรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้อง หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางบัญชี การปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี การดำรงอยู่ของกิจการ การเปลี่ยนแปลงทางนโยบายที่สำคัญรวมถึงเหตุผลของฝ่ายจัดการเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายบัญชี ก่อนนำเสนอคณะกรรมการบริษัท เพื่อเผยแพร่แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป
5.7.2 การพิจารณาระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน
5.7.3 การพิจารณาทบทวนแผนการตรวจสอบภายในประจำปีของบริษัท ขั้นตอนการประสานงานของแผนการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และการประเมินผลการตรวจสอบร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี คณะกรรมการตรวจสอบควรสอบถามถึงขอบเขตการตรวจสอบ ที่ได้วางแผนไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าแผนการตรวจสอบดังกล่าวจะช่วยให้ตรวจพบการทุจริตหรือข้อบกพร่องต่างๆของระบบการควบคุมภายใน
5.7.4 การพิจารณาร่วมกับผู้ตรวจสอบภายใน ถึงปัญหาหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นในระหว่างการตรวจสอบ และทบทวนการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายใน
5.7.5 การพิจารณาร่วมกับผู้สอบบัญชีถึงปัญหาหรือข้อจำกัดที่เกิดขึ้นจากการตรวจสอบงบการเงิน
5.7.6 การพิจารณาร่วมกับผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี ว่าได้มีการวางแผนเพื่อทบทวนวิธีการและการควบคุมการประมวลข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ และสอบถามเกี่ยวกับโครงการรักษาความปลอดภัยโดยเฉพาะเพื่อป้องกันการทุจริตหรือการใช้คอมพิวเตอร์ไปในทางที่ผิดโดยพนักงานบริษัทหรือบุคคลภายนอก
5.7.7 การปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท
5.7.8 การติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการต่อต้านการทุจริตของบริษัท จากฝ่ายบริหาร หรือหน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัท ตลอดจนข้อมูลจากระบบการแจ้งข้อร้องเรียนจากบุคคลทั่วไป (Whistle Blower)
5.7.9 การปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย
5.7.10 การพิจารณาประเมินผลตนเองกับการปฏิบัติหน้าที่และความรับผิดชอบตามที่ได้รับมอบหมาย
5.8 สอบทานให้บริษัท มีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้องและเพียงพอ
5.9 พิจารณาแต่งตั้ง โยกย้าย หรือเลิกจ้างหัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในของบริษัท ตลอดจนร่วมกับฝ่ายบริหาร ประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาความดีความชอบ และการลงโทษหัวหน้า หน่วยงานตรวจสอบภายใน
5.10 สอบทานกับฝ่ายบริหารในเรื่องนโยบายและความเพียงพอในการบริหารความเสี่ยงที่สำคัญของบริษัท
5.11 ทบทวนนโยบายการบริหารทางการเงินของบริษัท
5.12 รายงานภารกิจของคณะกรรมการตรวจสอบต่อคณะกรรมการบริษัท
5.13 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการบริษัทมอบหมาย และด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ
5.14 ทบทวนกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ตามความจำเป็นและเหมาะสม
ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตรฯนี้ คณะกรรมการตรวจสอบมีความรับผิดชอบต่อคณะกรรมการบริษัทโดยตรง และกรรมการยังคงรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทต่อบุคคลภายนอก
6. การประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ
6.1 วาระการประชุม
เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ จัดทำหนังสือเชิญประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ โดยการประชุมแต่ละครั้งมีการกำหนดวัน เวลา สถานที่และวาระการประชุมอย่างชัดเจนและจัดส่งเอกสารประกอบการประชุมให้คณะกรรมการตรวจสอบและผู้เข้าร่วมประชุมเป็นการล่วงหน้าด้วยระยะเวลาพอสมควร เพื่อให้มีเวลาในการพิจารณาเรื่องต่าง ๆ หรือเรียกขอข้อมูลประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม ทั้งนี้การกำหนดเรื่องต่างๆ สำหรับการประชุมให้เป็นไปตามขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ ตามที่กำหนดไว้ข้างต้น
6.2 จำนวนครั้งการประชุม
คณะกรรมการตรวจสอบ มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง แล้วแต่สถานการณ์และความจำเป็น
6.3 ผู้เข้าร่วมประชุม
– กรรมการตรวจสอบ ต้องเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการตรวจสอบทุกครั้ง ตามจำนวนกรรมการตรวจสอบที่กำหนดไว้ในกฎบัตรเพื่อให้ครบองค์ประชุม
– คณะกรรมการตรวจสอบ ควรเชิญผู้ตรวจสอบภายนอกและผู้ตรวจสอบภายในของบริษัท เพื่อนำเสนองาน และอาจเชิญผู้อื่นที่มิใช่กรรมการตรวจสอบ เช่น ผู้บริหารที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมตามความจำเป็นและเหมาะสม
6.4 การลงคะแนนเสียง
– ใช้ระบบคะแนนเสียงส่วนใหญ่ เป็นมติที่ประชุม
6.5 รายงานการประชุม
เลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ ทำหน้าที่จดบันทึกรายงานการประชุม ซึ่งรายงานการประชุมดังกล่าว ต้องนำส่งคณะกรรมการตรวจสอบและกรรมการบริษัทที่เข้าร่วมประชุม พร้อมทั้งนำส่งต่อผู้สอบบัญชีเพื่อยืนยันข้อมูลและบอกกล่าวเรื่องที่คณะกรรมการตรวจสอบให้ความใส่ใจหรือควรได้รับการใส่ใจเป็นพิเศษภายใน 14 วันนับแต่วันที่มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ
7.การรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ
คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการรายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ หรือหน้าที่อื่นใดที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท รายงานของคณะกรรมการตรวจสอบ จะมีความสำคัญต่อคณะกรรมการบริษัท ผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป เนื่องจากรายงานดังกล่าวเป็นการแสดงความเห็นอย่างเป็นอิสระและตรงไปตรงมาของคณะกรรมการตรวจสอบ และทำให้คณะกรรมการบริษัทมั่นใจได้ว่าฝ่ายจัดการได้มีการบริหารงานอย่างระมัดระวังและคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน
7.1 การรายงานต่อคณะกรรมการบริษัท
7.1.1 รายงานกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำอย่างเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่คณะกรรมการบริษัทจะได้ทราบถึงกิจกรรมของคณะกรรมการตรวจสอบ
– รายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ซึ่งระบุความเห็นของคณะกรรมการตรวจสอบในเรื่องต่าง ๆ ไว้อย่างชัดเจน
– รายงานเกี่ยวกับความเห็นต่อรายงานทางการเงิน การควบคุมภายใน การตรวจสอบภายใน
– รายงานความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการบริหารความเสี่ยง และมาตรการต่อต้านการทุจริต
– รายงานอื่นใดที่เห็นว่าคณะกรรมการบริษัท ควรทราบ
7.1.2 รายงานสิ่งที่ตรวจพบในทันที เพื่อคณะกรรมการบริษัทจะได้หาแนวทางแก้ไขได้ทันเวลา
– รายการความขัดแย้งทางผลประโยชน์
– ข้อสงสัยหรือสันนิษฐานว่าอาจมีการทุจริต หรือมีสิ่งผิดปกติ หรือมีความบกพร่องสำคัญ ในระบบการควบคุมภายใน
– ข้อสงสัยว่าอาจมีการฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องของบริษัท
– ข้อสงสัยหรือข้อพึงสันนิษฐานในพฤติการณ์ว่ากรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบ ในการดำเนินงานของบริษัทได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 ซึ่งผู้สอบบัญชีได้ตรวจพบและรายงานให้ทราบ และให้คณะกรรมการตรวจสอบรายงานผลการตรวจสอบในเบื้องต้นให้แก่ คณะกรรมการบริษัท สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และผู้สอบบัญชีทราบภายใน 30 วัน ทั้งนี้ พฤติการณ์อันควรสงสัยที่ต้องแจ้งและวิธีการเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับพฤติการณ์ดังกล่าว ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการกำกับตลาดทุนประกาศกำหนด
– รายงานอื่นใดที่เห็นว่าคณะกรรมการบริษัท ควรทราบ
7.2 การรายงานต่อหน่วยงานทางการ
1) หากคณะกรรมการตรวจสอบได้รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทถึงสิ่งที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน และได้มีการหารือร่วมกันกับคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารแล้วว่าต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไข เมื่อครบกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ร่วมกัน หากคณะกรรมการตรวจสอบพบว่า มีการเพิกเฉยต่อการดำเนินการแก้ไขดังกล่าวโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการตรวจสอบหรือกรรมการตรวจสอบคนใดคนหนึ่ง อาจรายงานสิ่งที่พบดังกล่าวต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
2) การรายงานให้กับสำนักคณะกรรมการตลาดทุน เพื่อชี้แจงกรณีผู้สอบบัญชีของบริษัท ได้แจ้งข้อมูลอันควรสงสัยในพฤติกรรมของกรรมการ ผู้จัดการหรือบุคคลซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทฯ ได้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551
7.3 การรายงานต่อผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนทั่วไป
รายงานกิจกรรมที่ทำระหว่างปี ตามหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท ซึ่งรายงานดังกล่าวลงนามโดยประธานกรรมการตรวจสอบ พร้อมทั้งเปิดเผยไว้ในรายงานประจำปีของบริษัท และต้องประกอบด้วยข้อมูลอย่างน้อยดังต่อไปนี้
1) ความเห็นเกี่ยวกับความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นที่เชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน
2) ความเห็นเกี่ยวกับความเพียงพอของระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง
3) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนระเบียบของหน่วยงานที่กำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง
4) ความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติตามนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี
5) ความเห็นเกี่ยวกับการดำเนินการตามมาตรการต่อต้านการทุจริต
6) ความเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้สอบบัญชีที่เสนอแต่งตั้งพร้อมค่าสอบบัญชี
7) ความเห็นเกี่ยวกับรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
8) จำนวนการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และการเข้าร่วมของกรรมการตรวจสอบแต่ละคน
9) ความเห็นหรือข้อสังเกตโดยรวมที่คณะกรรมการตรวจสอบได้รับจากการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎบัตร
10) รายการอื่นที่เห็นว่าผู้ถือหุ้นและผู้ลงทุนโดยทั่วไปควรทราบ ภายใต้ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
8.การประเมินผลคณะกรรมการตรวจสอบ
เพื่อให้เกิดความแน่ใจว่าการทำงานของคณะกรรมการตรวจสอบมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ จึงอาจกำหนดกระบวนการประเมินผลคณะกรรมการตรวจสอบไว้อย่างเป็นทางการ โดยการสัมภาษณ์บุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของคณะกรรมการตรวจสอบและการตอบแบบสอบถามของสมาชิกคณะกรรมการตรวจสอบถึงความมีประสิทธิภาพและการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน้าที่ความรับผิดชอบของคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการตรวจสอบควรได้รับทราบถึงผลการประเมินและผลกระทบเกี่ยวกับการดำเนินงานจากผู้สอบบัญชี หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ผู้บริหาร และคณะกรรมการบริษัท เพื่อนำผลการประเมินดังกล่าวมาปรับปรุงการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ทั้งนี้ การประเมินผลของคณะกรรมการตรวจสอบให้เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานแบบทั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยกำหนดไว้ปีละ 1 ครั้ง
(Risk Management Sub-Committee Charter)
(ฉบับปรับปรุงปี 2563)
เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Governance) ของบริษัทฯ และตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในด้านเกี่ยวกับการบริหารและจัดการความเสี่ยงของบริษัทฯ คณะกรรมการบริษัทได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นคณะอนุกรรมการเฉพาะเรื่อง เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าวตามมติของที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา
2.1 เพื่อกำหนดนโยบาย กรอบ ขอบเขต อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบในการดำเนินงาน ด้านการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ
2.2 เพื่อกำกับดูแลให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร ลดผลกระทบ หรือความเสียหายจากปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และยอมรับได้ รวมทั้งคำนึงถึงการมีระบบการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลครอบคลุมทั้งความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ การดำเนินงาน การเงิน และการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบ
2.3 เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินธุรกิจบรรลุตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้บริษัทฯ เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืน
3.1 คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงและผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง
จากแต่ละสายธุรกิจ ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริษัท จำนวนไม่เกิน 9 คน
3.2 อนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ต้องเป็นผู้มีความรู้ ความเข้าใจในงานของหน่วยงาน และ
ธุรกิจของบริษัทฯ หรือมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ให้บรรลุตามวัตถุประสงค์
3.3 สามารถอุทิศเวลาอย่างเพียงพอในการปฏิบัติงานในฐานะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
4.1 การแต่งตั้ง
4.1.1 คณะกรรมการบริษัท เป็นผู้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
4.1.2 คณะกรรมการบริษัท แต่งตั้งประธานคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง 1 คน จากคณะอนุกรรมการฯ ที่ได้แต่งตั้งไว้ในข้อ 4.1.1
4.1.3 คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงพิจารณาเสนออนุกรรมการฯ คนใดคนหนึ่ง ในคณะอนุกรรมการฯ หรือพนักงานคนใดคนหนึ่งของบริษัทฯ ทำหน้าที่เลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
4.2 วาระการดำรงตำแหน่ง
4.2.1 อนุกรรมการบริหารความเสี่ยง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับการแต่งตั้ง เว้นแต่คณะกรรมการบริษัทจะมีมติเป็นอย่างอื่น
4.2.2 อนุกรรมการบริหารความเสี่ยงที่ครบวาระ มีสิทธิได้รับการแต่งตั้งให้กลับมา ดำรงตำแหน่งได้อีก หากได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริษัท
4.2.3 หากอนุกรรมการฯ ท่านใดมีเหตุให้ไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้จนครบวาระ ซึ่งมีผลทำให้จำนวนอนุกรรมการฯ ไม่ครบตามองค์ประกอบ คณะกรรมการบริษัทจะแต่งตั้งผู้บริหารจากสายงานนั้น ๆ ใหม่ทดแทนตำแหน่งที่ว่างลงภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่จำนวนอนุกรรมการฯ ไม่ครบถ้วน โดยมีวาระการดำรงตำแหน่งต่อจากวาระเดิมของอนุกรรมการฯ ที่ออกก่อนควบวาระ เพื่อให้มีความต่อเนื่องของคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
4.3 การพ้นจากตำแหน่งของอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง เมื่อ
5.1 อำนาจของคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
5.1.1 มีอำนาจให้ผู้บริหารและหรือพนักงานของบริษัทฯ ชี้แจงข้อมูลเป็นลายลักษณ์-อักษร หรือเชิญผู้บริหารและหรือพนักงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมกับคณะอนุกรรมการฯ เพื่อชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงตามส่วนงาน ที่รับผิดชอบ
5.1.2 มีอำนาจมอบหมายให้ฝ่ายบริหารของบริษัทฯ ดำเนินการหรือปฏิบัติการอย่างหนึ่งอย่างใดเท่าที่จำเป็น เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามความรับผิดชอบที่กำหนด ในกฎบัตรฯ นี้ หรือหน้าที่พิเศษอื่นใดตามที่คณะอนุกรรมการฯ มอบหมายและคณะกรรมการบริษัทเห็นชอบ
5.1.3 มีอำนาจสอบทานแผนบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีการบริหารความเสี่ยงอย่างเป็นรูปธรรมและตรงตามวัตถุประสงค์ รวมทั้งให้ข้อสังเกต ความเห็น และคำแนะนำแก่คณะทำงานบริหารความเสี่ยงจากหน่วยงานต่าง ๆ ของบริษัทฯ และฝ่ายตรวจสอบภายใน ในกรณีที่มีสิ่งที่ ควรแก้ไข ปรับปรุง หรือพัฒนา
5.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของคณะอนุกรรมกรรมการบริหารความเสี่ยง
5.2.1 เป็นตัวแทนของคณะกรรมการบริษัท ในการทำหน้าที่กำกับดูแลกิจกรรม
การบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ
5.2.2 กำหนดและทบทวนกรอบการบริหารความเสี่ยง กฎบัตรคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง นโยบาย และแนวทางการบริหารความเสี่ยง เป็นประจำอย่างน้อย ทุกปี เพื่อให้แน่ใจว่านโยบาย แนวทาง กรอบ และกฎบัตรฯ การบริหารความเสี่ยงดังกล่าว มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสอดคล้องต่อแผนกลยุทธ์ ในการดำเนินธุรกิจ สภาวะที่เปลี่ยนแปลงไป และทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ ของบริษัทฯ
5.2.3 กำกับดูแล และสนับสนุนให้มีการดำเนินงานด้านการบริหารความเสี่ยง ด้านการต่อต้านการคอร์รัปชั่นตามนโยบายต่อต้านคอร์รัปชั่นของบริษัทฯ โดยมีการประเมินความเสี่ยงและทบทวนมาตรการต่อต้านคอร์รัปชั่นให้เพียงพอและเหมาะสม
5.2.4 พิจารณาระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (Risk Appetite) ของบริษัทฯ
5.3.5 พิจารณาและให้ความเห็นชอบในผลการประเมินความเสี่ยง แนวทาง มาตรการควบคุมในปัจจุบัน และแผนจัดการความเสี่ยงเพิ่มเติม เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ มีการบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอและเหมาะสมอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
5.3.6 กำกับดูแล สนับสนุนให้การบริหารความเสี่ยงประสบความสำเร็จในระดับองค์กร เสนอแนะวิธีป้องกันประเมินผล และทบทวนปรับปรุงแผนการดำเนินงาน เพื่อลดความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง จนอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ และเหมาะสมกับสภาวะ การดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน
5.2.7 รายงานความเสี่ยงที่สำคัญขององค์กร รวมถึงสถานะของความเสี่ยง แนวทาง ในการจัดการความเสี่ยง ความคืบหน้า และผลของการบริหารความเสี่ยง ให้แก่คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัท เพื่อรับทราบในทุกไตรมาส
5.2.8 ปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัท
6.1 คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงต้องประชุมเป็นประจำอย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง
6.2 องค์ประชุมในการประชุมแต่ละครั้ง ต้องมีอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงเข้าร่วมประชุม ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนอนุกรรมการที่มีอยู่ในขณะนั้นจึงถือเป็นครบองค์ประชุม และให้ประธานคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงเป็นประธานในที่ประชุม
6.3 ประธานอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงอาจเรียกประชุมคณะอนุกรรมการบริหาร ความเสี่ยงได้เป็นกรณีพิเศษ หากมีการร้องขอจากอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อพิจารณา ประเด็นความเสี่ยงองค์กรที่สำคัญเพิ่มเติมและจำเป็นต้องหารือร่วมกัน
6.4 คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงอาจเชิญบุคคลใด ๆ ที่ไม่ใช่อนุกรรมการฯ ที่รับผิดชอบหรือเกี่ยวข้องกับเรื่องที่อยู่ในวาระการประชุมเข้าร่วมประชุม หรือนำเสนอข้อมูลได้
6.5 เลขานุการคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่นัดหมายการประชุม จัดเตรียมวาระการประชุม นำส่งเอกสารประกอบการประชุม และบันทึกรายงานการประชุม ทั้งนี้ หนังสือเชิญประชุม และเอกสารประกอบการประชุมให้นำส่งล่วงหน้า 7 วันก่อนการประชุม
6.6 ในการลงมติของคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง ให้ประธานอนุกรรมการและอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงมีเสียงคนละหนึ่งเสียง และให้ถือคะแนนเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์ กรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงมีสิทธิลงคะแนนอีกเสียงหนึ่ง เป็นเสียงชี้ขาด
7.1 คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง นำเสนอรายงานการบริหารความเสี่ยง ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัท เป็นรายไตรมาส เพื่อให้แน่ใจว่าคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัทรับทราบและตระหนักถึงความเสี่ยงสำคัญที่องค์กรเผชิญอยู่ และปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อสถานะความเสี่ยงขององค์กรในอนาคต
7.2 ให้ประธานคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง รายงานให้ผู้ถือหุ้นทราบในรายงานประจำปี และแบบแสดงข้อมูลประจำปี ถึงการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยง
คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง เป็นคณะอนุกรรมการชุดย่อยเฉพาะเรื่อง ให้มี การประเมินผลการปฏิบัติงานของตนเอง และรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัททราบปีละครั้ง และรายงานปัญหาอุปสรรคที่เป็นเหตุให้การปฏิบัติงานไม่บรรลุวัตถุประสงค์ (หากมี) เพื่อให้คณะกรรมการตรวจสอบ และคณะกรรมการบริษัททราบ
คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงจะสอบทานและทบทวนความเหมาะสมของกฎบัตรฯ อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มั่นใจว่าเนื้อหาในกฎบัตรฯ มีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และกลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ โดยจะต้องได้รับการอนุมัติกฎบัตรฯ ฉบับปรับปรุงใหม่จากคณะกรรมการบริษัท
กรณีอื่นใดที่มิได้กำหนดไว้ในกฎบัตรฉบับนี้ ให้คณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยงใช้ดุลยพินิจในการนำแนวปฏิบัติที่กำหนดตามมาตรฐานและแนวทางในการบริหารความเสี่ยงทั่วไปมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมในแต่ละกรณี
ประกาศ ณ วันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
กฎบัตรคณะอนุกรรมการบริหารความเสี่ยง
หมวดที่ 1 บททั่วไป
ข้อ 1. ข้อบังคับนี้เรียกว่าข้อบังคับของ บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
ข้อ 2. คำว่า “บริษัท” ในข้อบังคับนี้ หมายถึง บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
ข้อ 3. ข้อความอื่นที่มิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ให้ถือและบังคับตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดทุกประการ
หมวดที่ 2 การออกหุ้น
ข้อ 4. หุ้นของบริษัทเป็นหุ้นสามัญ มีมูลค่าหุ้นเท่ากันเว้นแต่ข้อบังคับนี้จะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น หุ้นสามัญของบริษัทย่อมโอนกันได้อย่างเสรีโดยไม่มีข้อจำกัด แต่ทั้งนี้คนต่างด้าวมีสิทธิถือหุ้นสามัญในบริษัทได้ไม่เกินกว่าร้อยละสี่สิบห้าของหุ้นสามัญที่ได้ออกจำหน่ายแล้วทั้งหมด
ข้อ 5. ใบหุ้นของบริษัทนี้เป็นชนิดระบุชื่อผู้ถือหุ้น และต้องมีกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคนลงลายมือชื่อ
ข้อ 6. บริษัทจะออกใบหุ้นให้แก่ผู้ถือภายในสองเดือน นับแต่วันที่นายทะเบียนรับจดทะเบียนบริษัท หรือนับแต่วันที่ได้รับชำระเงินค่าหุ้นครบ กรณีจำหน่ายหุ้นที่ออกใหม่ภายหลังจดทะเบียนบริษัท
ข้อ 7. ใบหุ้นฉบับใดสูญหาย ลบเลือน หรือชำรุดในสาระสำคัญ ให้คณะกรรมการบริษัทออกใบหุ้นแก่ผู้ถือหุ้นใหม่ภายใน 14 วัน นับแต่วันได้รับคำขอโดยให้ผู้ถือหุ้นชำระค่าธรรมเนียมการออกใบแทนใบหุ้นฉบับละ 5 บาท
ข้อ 8.บริษัทจะเป็นเจ้าของหุ้นหรือรับจำนำหุ้นของตนเองมิได้
ความในวรรคก่อน มิให้นำมาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ คือ
(1) บริษัทอาจซื้อหุ้นคืนจากผู้ถือหุ้นที่ออกเสียงไม่เห็นด้วยกับมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งแก้ไขข้อบังคับของบริษัทเกี่ยวกับสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนและสิทธิในการรับเงินปันผล ซึ่งผู้ถือหุ้นเห็นว่าตนไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือ
(2) บริษัทอาจซื้อหุ้นคืนเพื่อบริหารทางการเงิน เมื่อบริษัทมีกำไรสะสมและมีสภาพคล่องส่วนเกิน และการซื้อหุ้นคืนนั้นไม่เป็นเหตุให้บริษัทประสบปัญหาทางการเงิน
หุ้นที่บริษัทซื้อคืนและถืออยู่ตามความในข้อนี้ จะไม่นับเป็นองค์ประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งไม่มีสิทธิในการออกเสียง และไม่มีสิทธิในการรับเงินปันผลด้วยและจะต้องจำหน่ายออกไปภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด ถ้าไม่จำหน่ายหรือจำหน่ายไม่หมดภายในเวลาที่กำหนด ให้บริษัทลดทุนที่ชำระแล้วโดยวิธีตัดหุ้นจดทะเบียนเท่าส่วนที่จำหน่ายไม่ได้ออก
การซื้อหุ้นคืน การจำหน่ายหุ้น และการตัดหุ้นตามความในข้อนี้ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎหมาย
ในการซื้อหุ้นของบริษัทคืน จะต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น ยกเว้นการซื้อหุ้นดังกล่าวมีจำนวนไม่เกินกว่าร้อยละ 10 ของทุนชำระแล้ว ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการของบริษัทในการอนุมัติการซื้อหุ้นดังกล่าว
หมวดที่ 3 การโอนหุ้น
ข้อ 9. หุ้นของบริษัทย่อมโอนได้โดยไม่มีข้อจำกัด เว้นแต่การโอนหุ้นนั้น
(1) จะทำให้บริษัทเสียสิทธิ และผลประโยชน์ที่บริษัทจะพึงได้รับตามกฎหมาย หรือ
(2) เป็นเหตุให้มีคนต่างด้าวถือหุ้นอยู่ในบริษัทเกินกว่าร้อยละสี่สิบห้าของทุนทั้งหมด
ข้อ 10. การโอนหุ้นย่อมสมบูรณ์ เมื่อผู้โอนได้สลักหลังใบหุ้น โดยระบุชื่อผู้รับโอนและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน และส่งมอบใบหุ้นให้แก่ผู้รับโอน
การโอนหุ้นจะใช้ยันบริษัทได้เมื่อบริษัทได้รับคำร้องขอให้ลงทะเบียนโอนหุ้นแล้วและจะใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้เมื่อบริษัทได้ลงทะเบียนการโอนหุ้นนั้นแล้ว
เมื่อบริษัทเห็นว่าการโอนหุ้นถูกต้องตามกฎหมาย ให้บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นภายใน 14 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำร้องขอ หากการโอนหุ้นไม่ถูกต้องสมบูรณ์ให้บริษัทแจ้งแก่ผู้ยื่นคำร้องภายใน 7 วัน
หากหุ้นของบริษัทได้รับการจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การโอนหุ้นให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สำหรับการโอนหลักทรัพย์อื่น ไม่ว่าจะได้จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
ข้อ 11. กรณีผู้รับโอนหุ้นประสงค์จะได้ใบหุ้นใหม่ ให้ร้องขอต่อบริษัทโดยทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของผู้รับโอนหุ้นและมีพยาน 1 คน ลงลายมือชื่อรับรองพร้อมกับคืนใบหุ้นเดิมให้แก่บริษัท ให้บริษัทลงทะเบียนการโอนหุ้นภายใน 7 วัน และออกใบหุ้นให้ใหม่ภายใน 1 เดือน นับแต่วันได้รับคำร้องขอ
หมวดที่ 4 คณะกรรมการ
ข้อ 12. คณะกรรมการของบริษัทให้มีจำนวนไม่เกินสิบสองคนและไม่น้อยกว่าห้าคน และกรรมการไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดต้องมีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
กรรมการผู้ซึ่งจะมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทได้นั้นให้มีกรรมการจำนวนสองคน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของบริษัทด้วย จึงจะมีผลเป็นการผูกพันบริษัท
ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น หรือที่ประชุมคณะกรรมการเป็นผู้พิจารณากำหนดหรือเปลี่ยนแปลงรายชื่อกรรมการผู้มีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทได้ตามที่เห็นสมควร
ข้อ 13. ให้ที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นเลือกตั้งกรรมการตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้
(1) ผู้ถือหุ้นคนหนึ่งมีคะแนนเสียงเท่ากับหนึ่งหุ้นต่อหนึ่งเสียง
(2) ผู้ถือหุ้นแต่ละคน จะต้องใช้คะแนนเสียงที่มีอยู่ทั้งหมดตาม (1) เลือกตั้งบุคคลคนเดียวหรือหลายคนเป็นกรรมการก็ได้ แต่จะแบ่งคะแนนเสียงให้แก่ผู้ใดมากน้อยเพียงใดไม่ได้
(3) บุคคลซึ่งได้รับคะแนนเสียงสูงสุดตามลำดับลงมาเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการเท่าจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ในกรณีที่บุคคลซึ่งได้รับการเลือกตั้งในลำดับถัดลงมามีคะแนนเสียงเท่ากันเกินจำนวนกรรมการที่จะพึงมีหรือจะพึงเลือกตั้งในครั้งนั้น ให้ผู้เป็นประธานเป็นผู้ออกเสียงชี้ขาด
ข้อ 14. ในการประชุมสามัญประจำปี ให้กรรมการออกจากตำแหน่งหนึ่งในสามเป็นอัตรา ถ้าจำนวนกรรมการที่จะแบ่งออกให้ตรงเป็นสามส่วนไม่ได้ ก็ให้ออกโดยจำนวนใกล้ที่สุดกับส่วนหนึ่งในสาม
กรรมการที่จะออกจากตำแหน่งในปีแรก และปีที่สองภายหลังจดทะเบียนบริษัทนั้น ให้จับฉลากกันว่าผู้ใดจะออก ส่วนปีหลังๆ ต่อไป ให้กรรมการคนที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดนั้นเป็นผู้ออกจากตำแหน่ง
ข้อ 15. นอกจากการพ้นจากตำแหน่งตามวาระแล้ว อาจต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อ
(1) ตาย
(2) ลาออก
(3) ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535
(4) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นลงมติให้ออกตาม ข้อ 18.
(5) ศาลมีคำสั่งให้ออก
ข้อ 16. กรรมการคนใดจะลาออกจากตำแหน่ง ให้ยื่นใบลาออกต่อบริษัท การลาออกให้มีผลนับแต่วันที่ใบลาออกไปถึงบริษัท
กรรมการซึ่งลาออกตามวรรคหนึ่ง จะแจ้งการลาออกของตนให้นายทะเบียนทราบด้วยก็ได้
ข้อ 17. ในกรณีที่ตำแหน่งกรรมการว่างลงเพราะเหตุอื่นนอกจากถึงคราวออกตามวาระ ให้คณะกรรมการเลือกบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 68 แห่งพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 เข้าเป็นกรรมการแทนในการประชุมคณะกรรมการคราวถัดไป เว้นแต่ วาระของกรรมการจะเหลือน้อยกว่าสองเดือน บุคคลซึ่งเข้าเป็นกรรมการแทนดังกล่าวจะอยู่ในตำแหน่งกรรมการได้เพียงเท่าวาระที่ยังเหลืออยู่ของกรรมการที่ตนแทน
มติของคณะกรรมการตามวรรคหนึ่ง ต้องประกอบด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนกรรมการที่ยังเหลืออยู่
ข้อ 18. ที่ประชุมผู้ถือหุ้นอาจลงมติให้กรรมการคนใดออกจากตำแหน่งก่อนถึงคราวออกตามวาระได้ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงและมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนหุ้นที่ถือโดยผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียง
ข้อ 19. กรรมการจะเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทด้วยหรือไม่ก็ได้
ข้อ 20. ให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ
ในกรณีที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรจะเลือกกรรมการคนหนึ่งหรือหลายคนเป็นรองประธานกรรมการก็ได้ รองประธานกรรมการมีหน้าที่ตามข้อบังคับในกิจการซึ่งประธานกรรมการมอบหมาย
ข้อ 21. ในการประชุมคณะกรรมการ ต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม ในกรณีที่ประธานกรรมการไม่อยู่ในที่ประชุม หรือไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ถ้ามีรองประธานกรรมการ ก็ให้รองประธานกรรมการเป็นประธาน ถ้าไม่มีรองประธานกรรมการหรือมีแต่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้กรรมการซึ่งมาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานในที่ประชุม
การวินิจฉัยชี้ขาดของที่ประชุมให้ถือเสียงข้างมาก
กรรมการคนหนึ่งมีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน เว้นแต่กรรมการซึ่งมีส่วนได้เสียในเรื่องใด ไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนในเรื่องนั้น ถ้าคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
ข้อ 22. ในการเรียกประชุมคณะกรรมการ ให้ประธานกรรมการหรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายส่งหนังสือนัดประชุมไปยังกรรมการไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม เว้นแต่ในกรณีจำเป็นรีบด่วนเพื่อรักษาสิทธิหรือประโยชน์ของบริษัท จะแจ้งการนัดประชุมโดยวิธีอื่น และกำหนดวันประชุมให้เร็วกว่านั้นก็ได้
ข้อ 23. กรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตามกฎหมาย วัตถุประสงค์ และข้อบังคับของบริษัท ตลอดจนมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ 24. ห้ามมิให้กรรมการประกอบกิจการเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือเข้าเป็นผู้ถือหุ้นในนิติบุคคลอื่นที่มีสภาพอย่างเดียวกันและเป็นการแข่งขันกับกิจการของบริษัท เว้นแต่จะแจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง
ข้อ 25. กรรมการต้องแจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า หากมีส่วนได้เสียในสัญญาที่ทำกับบริษัทหรือถือหุ้นหรือหุ้นกู้เพิ่มขึ้นหรือลดลงในบริษัทหรือบริษัทในเครือ
ข้อ 26. คณะกรรมการของบริษัทต้องประชุมอย่างน้อยสามเดือนต่อครั้ง
ข้อ 26/1. ในกรณีที่บริษัทหรือบริษัทย่อยตกลงเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ตามความหมายที่กำหนดตามประกาศตลาดหลักทรัพย์ที่ใช้บังคับกับการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทจดทะเบียน ให้บริษัทปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่ประกาศดังกล่าวกำหนดไว้ในเรื่องนั้นๆ ด้วย
หมวดที่ 5 การประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ 27.คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้น เป็นการประชุมสามัญประจำปีภายในสี่เดือนนับแต่วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของบริษัท
การประชุมผู้ถือหุ้นคราวอื่นนอกจากที่กล่าวแล้ว ให้เรียกว่าการประชุมวิสามัญ คณะกรรมการจะเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้สุดแต่จะเห็นสมควร หรือผู้ถือหุ้นรวมกันนับจำนวนหุ้นได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมด หรือผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคนซึ่งมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดจะเข้าชื่อกันทำหนังสือขอให้คณะกรรมการเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเป็นการประชุมวิสามัญเมื่อใดก็ได้ แต่ต้องระบุเหตุผลในการที่ขอให้เรียกประชุมไว้ให้ชัดเจนในหนังสือดังกล่าวด้วย ในกรณีเช่นนี้ คณะกรรมการต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันได้รับหนังสือจากผู้ถือหุ้น
ข้อ 28. ในการเรียกประชุมผู้ถือหุ้น ให้คณะกรรมการจัดทำเป็นหนังสือนัดประชุม ระบุสถานที่ วัน เวลา ระเบียบวาระการประชุม และเรื่องที่จะเสนอต่อที่ประชุม พร้อมด้วยรายละเอียดตามสมควร โดยระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเรื่องที่จะเสนอเพื่อทราบ เพื่ออนุมัติ หรือเพื่อพิจารณาแล้วแต่กรณี รวมทั้งความเห็นของคณะกรรมการในเรื่องดังกล่าวด้วย และจัดส่งให้ผู้ถือหุ้นและนายทะเบียนทราบไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม และโฆษณาคำบอกกล่าวนัดประชุมในหนังสือพิมพ์ติดต่อกัน 3 วันก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 3 วันด้วย
ข้อ 29. ในการประชุมผู้ถือหุ้นต้องมีผู้ถือหุ้นและผู้รับมอบฉันทะจากผู้ถือหุ้น (ถ้ามี) มาประชุมไม่น้อยกว่ายี่สิบห้าคน หรือไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด และต้องมีหุ้นนับรวมกันได้ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนหุ้นที่จำหน่ายได้ทั้งหมดจึงจะเป็นองค์ประชุม
ในกรณีที่ปรากฏว่าการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งใดเมื่อล่วงเวลานัดไปแล้วถึงหนึ่งชั่วโมง จำนวนผู้ถือหุ้นซึ่งมาเข้าร่วมประชุมไม่ครบองค์ประชุมตามที่กำหนดไว้ หากว่าการประชุมผู้ถือหุ้นได้เรียกนัดเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ การประชุมเป็นอันระงับไป ถ้าการประชุมผู้ถือหุ้นนั้นมิใช่เป็นการเรียกประชุมเพราะผู้ถือหุ้นร้องขอ ให้นัดประชุมใหม่ และให้ส่งหนังสือนัดประชุมไปยังผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าเจ็ดวันก่อนวันประชุม ในการประชุมครั้งหลังนี้ไม่บังคับว่าจะต้องครบองค์ประชุม
ข้อ 30. มติที่ประชุมผู้ถือหุ้นนั้นให้ประกอบด้วยคะแนนเสียงดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีปกติ ให้ถือคะแนนเสียงข้างมากผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและออกเสียงลงคะแนน ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานในที่ประชุมออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด
(2) ในกรณีดังต่อไปนี้ ให้ถือคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นซึ่งมาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน
(ก) การขายหรือโอนกิจการของบริษัททั้งหมดหรือบางส่วนที่สำคัญให้แก่บุคคลอื่น
(ข) การซื้อหรือรับโอนกิจการของบริษัทอื่นหรือบริษัทเอกชนมาเป็นของบริษัท
(ค) การทำ แก้ไข หรือเลิกสัญญาเกี่ยวกับการให้เช่ากิจการของบริษัททั้งหมด หรือบางส่วนที่สำคัญ การมอบหมายให้บุคคลอื่นเข้าจัดการธุรกิจของบริษัท หรือการรวมกิจการกับบุคคลอื่นโดยมีวัตถุประสงค์จะแบ่งกำไรขาดทุนกัน
ข้อ 31. กิจการอันที่ประชุมสามัญประจำปีพึงกระทำมีดังนี้
(1) พิจารณารายงานของคณะกรรมการที่เสนอต่อที่ประชุมแสดงว่าในรอบปีที่ผ่านมากิจการของบริษัทได้จัดการไป
(2) พิจารณาและอนุมัติงบดุล
(3) พิจารณาจัดสรรเงินกำไร
(4) เลือกตั้งกรรมการแทนกรรมการที่ออกตามวาระ
(5) แต่งตั้งผู้สอบบัญชี
(6) กิจการอื่นๆ
หมวดที่ 6 การบัญชี การเงิน และการสอบบัญชี
ข้อ 32. รอบปีบัญชีของบริษัทเริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคมของทุกปี
ข้อ 33. บริษัทต้องจัดให้มีการทำ และเก็บรักษาบัญชี ตลอดจนการสอบบัญชีตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น และต้องจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนอย่างน้อยครั้งหนึ่งในรอบ 12 เดือน อันเป็นรอบปีบัญชีของบริษัท
ข้อ 34. คณะกรรมการต้องจัดให้มีการทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน ณ วันสิ้นสุดของรอบปีบัญชีของบริษัทเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นในการประชุมสามัญประจำปี เพื่อพิจารณาอนุมัติงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนนี้ คณะกรรมการต้องจัดให้ผู้สอบบัญชีตรวจสอบให้เสร็จก่อนนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้น
ข้อ 35. คณะกรรมการต้องจัดส่งเอกสารดังต่อไปนี้ให้ผู้ถือหุ้นพร้อมกับหนังสือนัดประชุมสามัญประจำปี
(1) สำเนางบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้สอบบัญชีตรวจสอบแล้ว พร้อมกับรายงานการตรวจสอบบัญชีของผู้สอบบัญชี
(2) รายงานประจำปีของคณะกรรมการ
ข้อ 36. ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผลจากเงินประเภทอื่นนอกจากเงินกำไร ในกรณีที่บริษัทยังมียอดขาดทุนสะสมอยู่ ห้ามมิให้แบ่งเงินปันผล
เงินปันผลให้แบ่งตามจำนวนหุ้น หุ้นละเท่าๆ กัน
คณะกรรมการอาจจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เป็นครั้งคราวในเมื่อเห็นว่าบริษัทมีผลกำไรสมควรพอที่จะทำเช่นนั้นและรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมคราวต่อไป
การจ่ายเงินปันผลให้กระทำภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ที่ประชุมผู้ถือหุ้นหรือคณะกรรมการลงมติแล้วแต่กรณี ทั้งนี้ให้แจ้งเป็นหนังสือไปยังผู้ถือหุ้นและให้โฆษณาคำบอกกล่าวการจ่ายเงินปันผลนั้นในหนังสือพิมพ์ด้วย
ข้อ 37. บริษัทต้องจัดสรรเงินกำไรสุทธิประจำปีให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด
ข้อ 38. ผู้สอบบัญชีต้องไม่เป็นกรรมการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใดๆ ของบริษัท
ข้อ 39. ผู้สอบบัญชีมีอำนาจตรวจสอบบัญชี เอกสารและหลักฐานอื่นใดที่เกี่ยวกับรายได้รายจ่าย ตลอดจนทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัทในระหว่างเวลาทำการของบริษัท ในการนี้ให้มีอำนาจสอบถามกรรมการ พนักงานลูกจ้าง ผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ใดๆ ของบริษัทและตัวแทนของบริษัท รวมทั้งให้ชี้แจงข้อเท็จจริง หรือส่งเอกสารหลักฐานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการของบริษัทได้
ข้อ 40. ผู้สอบบัญชีมีหน้าที่เข้าร่วมประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัททุกครั้งที่มีการพิจารณางบดุล บัญชีกำไรขาดทุนและปัญหาเกี่ยวกับบัญชีของบริษัทเพื่อชี้แจงการตรวจสอบบัญชีต่อผู้ถือหุ้น ให้บริษัทจัดส่งรายงานและเอกสารของบริษัทที่ผู้ถือหุ้นจะพึงได้รับในการประชุมผู้ถือหุ้นครั้งนั้นแก่ผู้สอบบัญชีด้วย
หมวดที่ 7 บทเพิ่มเติม
ข้อ 41. ตราของบริษัทเป็นดังที่ประทับไว้นี้
— รูปตราบริษัท —
ข้อ 42. ข้อบังคับนี้ หากมีที่ซึ่งจำเป็นหรือสมควรจะแก้ไขเปลี่ยนแปลง ก็ให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาจัดการเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ตามกฎหมาย
(1) ทำการผลิตเพื่อขาย ซึ่งภาชนะ ถ้วยชาม ที่ทำจากพลาสติก เมลามีน โลหะ และวัสดุอื่นทุกชนิด เครื่องแก้ว รวมทั้งเครื่องเรือน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ เครื่องตกแต่ง เครื่องครัว เครื่องใช้สำนักงาน และชิ้นส่วนอุปกรณ์ดังกล่าวที่ทำจากวัสดุทุกชนิด ยกเว้นการผลิตเครื่องทอง เครื่องเงิน เครื่องถม และเครื่องทองลงหิน
(2) ทำการผลิตเพื่อขาย ซึ่งเครื่องประดับ เสื้อผ้า กระเป๋า และเครื่องนุ่งห่มสำเร็จรูป ตลอดจนสินค้าอุตสาหกรรมสิ่งทอ เช่น พรม ฝ้าย ด้าย ผ้าใยสังเคราะห์ ยกเว้น การผลิตเส้นไหมไทย การทอผ้าไหมไทย หรือการพิมพ์ลวดลายผ้าไหมไทย
(3) ทำการนำเข้า ซื้อ ซึ่งเครื่องจักร เครื่องกล เครื่องมือเครื่องใช้ ชิ้นส่วนอุปกรณ์และอะไหล่ของทรัพย์สินดังกล่าว เพื่อใช้ในการดำเนินธุรกิจของบริษัทตามวัตถุประสงค์ข้อ (1) และ (2) ข้างต้น
(4) ซื้อ จัดหา รับเช่า ให้เช่า เช่าซื้อ ถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง ปรับปรุง ใช้และจัดการโดยประการอื่นซึ่งทรัพย์สินใดๆ ตลอดจนดอกผลของทรัพย์สินนั้น
(5) กู้ยืมเงิน ให้กู้ยืมเงิน ให้สินเชื่อทางการค้า รับรองหนี้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ ค้ำประกัน ออก โอน และสลักหลังตั๋วเงินหรือตราสาร
(6) ขาย โอน จำนอง จำนำ แลกเปลี่ยน และจำหน่ายทรัพย์สินโดยประการอื่น
(7) ทำการค้ำประกันบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลรวมทั้งค้ำประกันบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการของบริษัท หรือการดำเนินการของบริษัท ภายใต้กฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภาษีอากร ศุลกากร แรงงาน และกฎหมายอื่นๆ ด้วย โดยมิได้กระทำเป็นการค้า
(8) ทำการติดต่อหน่วยราชการ และเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งเอกสิทธิ์ สัญญา สิทธิ กรรมสิทธิ์ ใบอนุญาต สิทธิในเครื่องหมายการค้า อุตสาหกรรมสมบัติ ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร สัมปทาน หรือสิทธิพิเศษใดๆ ซึ่งจำเป็นในการดำเนินกิจการของบริษัท
(9) ทำการยื่นคำขอ ถือใบอนุญาต และการจดทะเบียนใดๆ ซึ่งจำเป็นหรือเป็นประโยชน์ต่อกิจการของบริษัท
(10) บริษัทมีสิทธิออกหุ้นในราคาสูงกว่ามูลค่าหุ้นของหุ้นที่กำหนดไว้
(11) บริษัทมีสิทธิออกหลักทรัพย์ เช่น หุ้นกู้ ตั๋วเงิน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้และหลักทรัพย์ หรือตราสารอื่นใดตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ/หรือ ตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอขายแก่ผู้ถือหุ้น และ/หรือ บุคคลใดๆ และ/หรือ ประชาชนได้
(12) ประกอบธุรกิจแบบขายตรง หรือตลาดแบบตรงตามที่กฎหมายบัญญัติ
(13) ประกอบกิจการค้าอาหารสด อาหารแห้ง อาหารสำเร็จรูป อาหารเสริม เครื่องกระป๋อง เครื่องปรุงรส อาหาร เครื่องดื่ม เบียร์ สุรา และเครื่องบริโภคอื่น
(14) ประกอบกิจการค้าผ้า ผ้านวม ผ้าปูที่นอน ผ้าเช็ดตัว ด้าย เครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องแต่งกาย เครื่องประดับ เครื่องสำอาง เครื่องใช้ หรือเครื่องมือเสริมความงามและเครื่องอุปโภคอื่น
(15) ประกอบกิจการค้าเครื่องมือ เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า บรรจุภัณฑ์ กล่องใส่อาหาร และชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่างๆ
(16) ประกอบกิจการค้าข้าว ผลิตภัณฑ์ข้าว มันสำปะหลัง ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ข้าวโพด งา ถั่ว พริกไทย ชา กาแฟ ครีมหรือครีมเทียม ปอ นุ่น ฝ้าย ครั่ง ละหุ่ง ไม้ ยาง ผัก ผลไม้ ของป่า สมุนไพร หนังสัตว์ เขาสัตว์ สัตว์มีชีวิต เนื้อสัตว์ชำแหละ น้ำตาล อาหารสัตว์ และพืชผลทางเกษตร ทุกชนิด
(17) ประกอบกิจการเป็นนายหน้า ตัวแทน ตัวแทนค้าต่างในกิจการและธุรกิจทุกประเภท เว้นแต่ในธุรกิจประกันภัย การหาสมาชิกให้สมาคม และการค้าหลักทรัพย์
(18) ทำการจัดตั้งสำนักงานสาขาหรือแต่งตั้งตัวแทน ทั้งภายในและภายนอกประเทศ เข้าเป็นหุ้นส่วนจำกัดความรับผิดชอบในห้างหุ้นส่วน และเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดอื่น
(19) ประกอบกิจการผลิต สร้างสรรค์ เผยแพร่ข้อมูลต่างๆ โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า รายการส่งเสริมการขาย กิจกรรมต่างๆ ตลอดจนให้มีการทำธุรกรรมทางเว็บไซต์ของบริษัทผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
(20) ประกอบกิจการค้ายารักษาและป้องกันโรคสำหรับคนและสัตว์ เภสัชภัณฑ์ เคมีภัณฑ์ เครื่องเวชภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์และเภสัชกรรมทุกชนิด ปุ๋ย ยาปราบศัตรูพืช ยาบำรุงพืชและสัตว์ทุกชนิด เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์
(21) ประกอบกิจการค้าทอง นาก เงิน เพชร พลอย และอัญมณีอื่นๆ รวมทั้งวัตถุทำเทียมสิ่งดังกล่าว
(22) ประกอบกิจการออกหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ สิ่งตีพิมพ์ วารสาร เอกสาร และนิตยสารประเภทต่างๆ ทุกชนิด ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศของบริษัท หรือที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมของบริษัท หรือผู้จัดจำหน่ายสินค้า สมาชิก ตลอดจนลูกค้าของบริษัท
(23) ประกอบกิจการผลิต ซื้อ ขายส่ง ขายปลีก เครื่องกรองอากาศ อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องนอน อุปกรณ์เครื่องมือสื่อสาร อุปกรณ์เครื่องเขียน อุปกรณ์ประกอบและส่งเสริมการเรียน ผลิตภัณฑ์บำบัดสิ่งแวดล้อม ผลิตภัณฑ์ซ่อมแซมบ้าน อุปกรณ์อุดรอยรั่ว เครื่องมือเครื่องใช้ และอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงภาชนะเครื่องใช้และอาคาร ผลิตภัณฑ์ใช้ในรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ประดับยนต์ น้ำมันเครื่อง น้ำมันหล่อลื่น
(24) ประกอบกิจการค้าพลาสติก หรือสิ่งอื่น ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ทั้งที่อยู่ในสภาพวัตถุดิบ หรือสำเร็จรูป
(25) ประกอบกิจการค้าอาหารเสริมสำหรับพืช อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ทางการเกษตร เช่น เครื่องฉีดพ่นอาหารเสริมสำหรับพืช
(26) ประกอบกิจการค้ายางดิบ ยางแผ่น หรือยางชนิดอื่น อันผลิตขึ้นหรือได้มาจากส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นยางพารา รวมตลอดถึงยางเทียม สิ่งทำเทียมวัตถุหรือสินค้าดังกล่าวโดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์
(27) ประกอบกิจการสั่งเข้ามาจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งสินค้าตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์
(28) ประกอบธุรกิจบริการรับเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำปัญหาเกี่ยวกับด้านบริหารงาน พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม รวมทั้งปัญหาการผลิต การตลาด และจัดจำหน่าย
(29) ประกอบกิจการบริการจัดเก็บ รวบรวม จัดทำ จัดพิมพ์และเผยแพร่สถิติ ข้อมูล ในทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม พาณิชยกรรม การเงิน การตลาด รวมทั้งวิเคราะห์และประเมินผลในการดำเนินธุรกิจ
(30) ประกอบธุรกิจบริการรับเป็นผู้จัดการและดูแลผลประโยชน์ เก็บผลประโยชน์ และจัดการทรัพย์สินให้บุคคลอื่น
(31) ประกอบกิจการประมูลเพื่อขายสินค้าและรับจ้างทำของ ตามวัตถุประสงค์ทั้งหมดให้แก่บุคคล คณะบุคคล นิติบุคคล ส่วนราชการและองค์การของรัฐ
(32) ประกอบกิจการจำหน่าย ขายปลีก ขายส่งสินค้าและผลิตภัณฑ์ทุกชนิดตามวัตถุประสงค์ของบริษัท โดยขายโดยตรงให้แก่ลูกค้าและผู้บริโภค จำหน่ายผ่านแค็ตตาล็อก จำหน่ายผ่านร้านค้าของบริษัท จำหน่ายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต หรือลักษณะธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จำหน่ายผ่านตัวแทนจำหน่าย และเว็บไซต์ของตัวแทนจำหน่ายหรือคู่ค้าทางธุรกิจ
(33) ประกอบกิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ รวมถึงการให้บริการด้านการบริหารหรือด้านเทคนิค การให้บริการสนับสนุน หรือการบริหารเงิน แก่วิสาหกิจในเครือหรือสาขาของตน ไม่ว่าวิสาหกิจในเครือหรือสาขานั้นจะตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือในต่างประเทศ และประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศตามขอบเขตของสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ
(34) ประกอบกิจการให้บริการสนับสนุน รวมถึงการให้บริการสนับสนุนในเรื่อง การบริหารงานทั่วไป การวางแผนทางธุรกิจ การประสานงานทางธุรกิจ การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ การสนับสนุนด้านเทคนิค การส่งเสริมด้านการตลาดและการขาย การบริหารด้านงานบุคคลและการฝึกอบรม การให้คำปรึกษาด้านการเงิน การวิเคราะห์และวิจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน หรือการจัดการและควบคุมสินเชื่อ และการให้บริการสนับสนุนอื่นๆ
(35) ประกอบกิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงการจัดซื้อและขายสินค้า วัตถุดิบ และชิ้นส่วน หรือให้บริการเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศแก่นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ ซึ่งได้แก่ การจัดหาสินค้าและวัตถุดิบ การเก็บรักษาสินค้าและวัตถุดิบระหว่างรอการส่งมอบ การจัดทำหีบห่อและบรรจุภัณฑ์ การขนส่งสินค้า หรือการให้คำปรึกษาแนะนำและบริการด้านเทคนิคและฝึกอบรมเกี่ยวกับสินค้า
ขอรับรองว่าบริษัทนี้ ได้จดทะเบียน เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชนจำกัดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2536 ทะเบียนเลขที่ 0107536001516
ปรากฏข้อความในรายการตามเอกสารทะเบียนนิติบุคคล ณ วันออกหนังสือนี้ ดังนี้
1. ชื่อบริษัท บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
2. กรรมการของบริษัทมี 9 คน ตามรายชื่อดังต่อไปนี้
1. นายสนั่น อังอุบลกุล
2. นายณพล เลิศสุมิตรกุล
3. นายเอ้งฮัก นนทิการ
4. นายสุชาติ บุญบรรเจิดศรี
5. นางสิริพร ไศละสูต
6. นายศุภโชค เลี่ยมแก้ว
7. นายไชยวัฒน์ กุลภัทรวาณิชย์
3. ชื่อและจำนวนกรรมการซึ่งมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนบริษัทคือ
นายสนั่น อังอุบลกุล
นายณพล เลิศสุมิตรกุล
นายไชยวัฒน์ กุลภัทรวาณิชย์
สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกัน และประทับตราสำคัญของบริษัท
ข้อจำกัดอำนาจของกรรมการ ไม่มี/
4. ทุน ทุนจดทะเบียน 2,709,904,800.00 บาท /
(สองพันเจ็ดร้อยเก้าล้านเก้าแสนสี่พันแปดร้อยบาทถ้วน)
ทุนชำระแล้วเป็นเงิน 2,709,904,800.00 บาท /
(สองพันเจ็ดร้อยเก้าล้านเก้าแสนสี่พันแปดร้อยบาทถ้วน)
5. สำนักงานแห่งใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 15 ซอยสุขสวัสดิ์ 36 ถนนสุขสวัสดิ์ แขวงบางปะกอก
เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร/
6. วัตถุที่ประสงค์ของบริษัทมหาชน จำกัดมี 35 ข้อ ดังปรากฏในสำเนาเอกสารแนบท้ายหนังสือรับรองนี้ จำนวน 4 แผ่น โดยมีลายมือชื่อนายทะเบียนซึ่งรับรองเอกสารและประทับตรากรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นสำคัญ
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
0107536001516
หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัท มีรายการดังต่อไปนี้
ข้อ 1
ชื่อบริษัท “บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)” และมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “SRITHAI SUPERWARE PUBLIC COMPANY LIMITED”
ข้อ 2
บริษัทมีความประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน
ข้อ 3
วัตถุประสงค์ของบริษัท มีจำนวน 35 ข้อ
ข้อ 4
ทุนจดทะเบียน จำนวน 2,709,904,800.00 บาท (สองพันเจ็ดร้อยเก้าล้านเก้าแสนสี่พันแปดร้อยบาท)
แบ่งออกเป็น 2,709,904,800 หุ้น (สองพันเจ็ดร้อยเก้าล้านเก้าแสนสี่พันแปดร้อยหุ้น)
มูลค่าหุ้นละ 1.00 บาท (หนึ่งบาท)
โดยแยกออกเป็น
หุ้นสามัญ 2,709,904,800 หุ้น (สองพันเจ็ดร้อยเก้าล้านเก้าแสนสี่พันแปดร้อยหุ้น)
หุ้นบุริมสิทธิ – หุ้น ( – )
ข้อ 5
ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ จะตั้งอยู่ ณ จังหวัด กรุงเทพมหานคร
“บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลาสติกเพื่องานอุตสาหกรรมและผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ในครัวเรือน มีความมุ่งมั่นในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยคำนึงถึงความรับผิดชอบของผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและสังคมโดยรวมในด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการขององค์กร โดยยึดหลักการดำเนินธุรกิจที่โปร่งใสตรวจสอบได้ มีจริยธรรม เคารพหลักสิทธิมนุษยชน และผลประโยชน์ของผู้มีส่วนได้เสีย โดยปฏิบัติตามกฎหมายและข้อกำหนดอื่นๆ หรือแนวทางปฏิบัติสากลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งมุ่งมั่นพัฒนา ปรับปรุง เพื่อสร้างรากฐานของความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ควบคู่ไปกับการดำเนินธุรกิจที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง”
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน บริษัทฯ จึงได้กำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงแนวทางในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อให้พนักงานได้ทราบ และเข้าใจในวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ ในการเก็บรวบรวม ประมวลผล ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงสิทธิต่างๆตามกฎหมายของพนักงาน โดยข้อกำหนดต่าง ๆ ตามเอกสารแนบ
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
ข้อมูลที่บริษัทฯ ได้รับ
บริษัทฯ ได้รับข้อมูลของผู้สมัครงานจากการกรอกใบสมัครงาน รวมถึงเอกสารประกอบอื่นๆ ที่ได้ยื่นให้แก่บริษัทฯ เพื่อพิจารณาการสมัครงาน อันได้แก่ ชื่อ นามสกุล ชื่อเล่น รูปถ่าย ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ เบอร์โทรศัพท์ อีเมล หมายเลขประจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด อายุ วุฒิการศึกษา ประวัติการทำงาน หรือข้อมูลใดๆที่ปรากฏในเอกสารประกอบการสมัครงาน ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลอื่น เช่น ผู้ติดต่อกรณีฉุกเฉิน บุคคลอ้างอิง ซึ่งรวมถึงเบอร์โทรศัพท์/โทรศัพท์มือถือของบุคคลดังกล่าว เป็นต้น ทั้งนี้ในการให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลที่สามแก่บริษัทฯ ผู้สมัครงานรับรองและรับประกันว่า ผู้สมัครงานมีอำนาจในการกระทำดังกล่าวและอนุญาตให้บริษัทฯ ใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามหนังสือฉบับนี้ นอกจากนี้ผู้สมัครงานยังมีหน้าที่ในการแจ้งให้บุคคลเหล่านั้นทราบถึงเนื้อหาในหนังสือฉบับนี้และ/หรือขอความยินยอมจากบุคคลเหล่านั้น โดยบริษัทฯ จะเก็บในรูปแบบเอกสารและไฟล์ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
ในกรณีที่ผู้สมัครงานยื่นเอกสารที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว เช่น เชื้อชาติ หมู่โลหิต ศาสนา อันเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อบริษัทฯ ที่จะเก็บรวบรวม ประมวลผล ใช้ และเปิดเผยข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่บริษัทฯ ได้แจ้ง ผู้สมัครงานสามารถปกปิดข้อมูลดังกล่าวโดยวิธีใดก็ได้ก่อนยื่นเอกสารให้บริษัทฯ กรณีที่ผู้สมัครงานไม่ได้ปกปิดข้อมูลดังกล่าว บริษัทฯ จะทำการปกปิดข้อมูลนั้นบนเอกสารที่ได้รับทันที และจะไม่ถือว่าบริษัทฯ ได้เก็บรวบรวม หรือใช้ในลักษณะใดๆต่อข้อมูลที่มีความอ่อนไหวของผู้สมัครงาน
บริษัทฯ เก็บรวบรวม ประมวลผล ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงานเพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
ระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จะจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงานเป็นระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับข้อมูล หรือเมื่อสิ้นสุดขั้นตอนการสัมภาษณ์รอบสุดท้าย เว้นแต่กรณีที่ผู้สมัครงานผ่านการคัดเลือกเข้าทำงานเป็นพนักงานของบริษัทฯ บริษัทฯ จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงานต่อไปในระยะเวลาที่จำเป็น เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของบริษัทฯ
บริษัทฯ จะจัดให้มีระบบการตรวจสอบเพื่อดำเนินการลบ หรือทำลายข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษา หรือที่ไม่เกี่ยวข้อง หรือเกินความจำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลนั้น
สิทธิของผู้สมัครงานในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ผู้สมัครงานสิทธิดังต่อไปนี้
การถอนความยินยอม
ความยินยอมที่ผู้สมัครงานให้ไว้เพื่อเก็บรวบรวม ประมวลผล ใช้ และเปิดเผยตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวข้างต้นจะยังคงมีผลบังคับใช้จนกว่าผู้สมัครงานจะได้ถอนความยินยอมเป็นหนังสือแจ้งต่อบริษัทฯ หรือติดต่อ dpo@srithaisuperware.com ทั้งนี้ การถอนความยินยอมของผู้สมัครงาน จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเก็บรวบรวม ประมวลผล ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ที่ผู้สมัครงานได้เคยให้ความยินยอมไปแล้วก่อนหน้านั้น
ในกรณีที่บริษัทฯ มีการเก็บรวบรวม ประมวลผล ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อดำเนินการอย่างอื่น นอกเหนือจากวัตถุประสงค์ตามที่ได้ระบุไว้ บริษัทฯ จะทำการแจ้งวัตถุประสงค์ใหม่ให้ผู้สมัครงานทราบ และขอความยินยอมจากผู้สมัครงานก่อน ตามรายละเอียดที่ได้แจ้งขอความยินยอม
ความปลอดภัยของข้อมูล
บริษัทฯ มีมาตราการควบคุมเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สมัครงานจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปลี่ยนแปลง การเปิดเผย และการใช้ที่ไม่ถูกต้อง บริษัทฯ จะติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลอยู่เสมอ
ช่องทางการติดต่อ
กรณีที่ผู้สมัครงานต้องการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูล หรือร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านสามารถติดต่อบริษัทฯ ได้โดยตรงที่
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
15 ถนนสุขสวัสดิ์ ซอย 36 แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140
โทร 02 4270088 ต่อ 2203
อีเมล : dpo@srithaisuperware.com
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) มีพันธกิจสำคัญในการปกป้องและเคารพความเป็นส่วนตัวของท่าน และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ถูกเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยอย่างเป็นธรรมและเป็นไปตามกฎหมาย
นโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ (“นโยบายความเป็นส่วนตัว”) แจ้งถึงประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ ได้ทำการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผย รวมถึงสิทธิทางเลือกของท่านต่อข้อมูลส่วนบุคคล บริษัทฯ ยังแจ้งถึงมาตราการที่ได้ใช้เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล พร้อมแจ้งช่องทางการติดต่อให้แก่ท่านเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อข้อมูลส่วนบุคคล และ สิทธิต่างๆ ของท่านตามกฎหมาย จากการที่ท่านเข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
คำนิยาม
ข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ตามนโยบายฉบับนี้คือ ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เลขบัตรประจำตัวประชาชน วัน เดือน ปีเกิด เลขประจำตัวผู้ถือหุ้น จำนวนหุ้น เบอร์โทรศัพท์
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว ได้แก่ เพศ สัญชาติ ศาสนา ภาพถ่ายหรือภาพเคลื่อนไหวจากการบันทึกวีดีโอภายในงาน ข้อมูลสุขภาพ ประวัติการเดินทางที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลสุขภาพ (กรณีมีความจำเป็นภายใต้วัตถุประสงค์ของการคัดครองโรคของบุคคลที่เข้ามาเข้าร่วมการประชุม)
บริษัทฯ เก็บรวบรวมข้อมูลของท่านที่ได้ระบุไว้ข้างต้น เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1.1 การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
เพื่อเรียก จัดให้มีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยเรื่องหุ้นส่วนและบริษัท เพื่อรับรองสิทธิและการยืนยันตัวตนของท่าน การส่งเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการใดๆ เพื่อให้เป็นไปตามมติที่ประชุมในการประชุมผู้ถือหุ้นให้เป็นไปตามคำสั่งของหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการปฏิบัติตามกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535
1.2 ฐานประโยชน์โดยชอบธรรมด้วยกฎหมาย
1.2.1 เพื่อใช้จัดทำบันทึกรายงานการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ รวมถึงเพื่อการใดๆ ตามจำเป็นที่เกี่ยวข้อง อันเป็นประโยชน์อันชอบธรรมของบริษัทฯ โดยไม่เกินขอบเขตที่ท่านสามารถเข้าใจและคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผล
1.2.2 เพื่อปฏิบัติตามแนวทางคำสั่งของรัฐบาล และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับประโยชน์ด้านการสาธารณสุขเพื่อการป้องกันโรคติดต่ออันตรายที่จะต้องคัดกรองความเสี่ยงในการแพร่ระบาดของโรค COVID-19
1.2.3 บริษัทฯ อาจมีการบันทึกภาพถ่าย และภาพเคลื่อนไหวของการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อใช้ในการรายงาน และการประชาสัมพันธ์การประชุมสามัญผู้ถือหุ้นทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ และสิ่งพิมพ์ ซึ่งอาจปรากฏภาพของท่านที่เข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ บริษัทฯ จะไม่ระบุรายละเอียดตัวบุคคลที่เข้าร่วมบนภาพถ่ายดังกล่าว
หมายเหตุ : ในกรณีที่ท่านยื่นเอกสารยืนยันตัวตนให้แก่บริษัทฯ อันได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน หรือเอกสารอื่นๆ ที่อาจปรากฏซึ่งข้อมูลอ่อนไหวของท่าน เช่น เชื้อชาติ หมู่โลหิต ศาสนา อันเป็นข้อมูลที่ไม่จำเป็นต่อบริษัทฯ ที่จะเก็บรวบรวม ใช้ สำหรับการประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ท่านสามารถปกปิดข้อมูลอ่อนไหวดังกล่าวโดยวิธีใดก็ได้ก่อนนำส่งเอกสารให้บริษัทฯ กรณีที่ท่านไม่ได้ปกปิดข้อมูลอ่อนไหวดังกล่าว บริษัทฯ จะทำการปกปิดข้อมูลอ่อนไหวบนเอกสารที่ได้รับทันที และจะไม่ถือว่าบริษัทฯ ได้เก็บ รวบรวม หรือใช้ในลักษณะใดๆต่อข้อมูลอ่อนไหวของท่าน
บริษัทฯ ได้รับข้อมูลส่วนบุคคลจากท่านโดยตรง โดยผ่านการลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุม และหนังสือมอบฉันทะ (ถ้ามี) แบบสอบถามเกี่ยวกับสุขภาพ สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาเอกสารยืนยันตัวตนอื่นที่ท่านยื่นประกอบการลงทะเบียนเข้าร่วมประชุม และ จากศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในระยะเวลาเท่าที่จำเป็นอย่างสมเหตุสมผล โดยจำกัดเฉพาะเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่บริษัทฯ เก็บข้อมูลนั้น ทั้งนี้ บริษัทฯ อาจเก็บข้อมูลของท่านไว้เป็นระยะเวลานานขึ้นในกรณีจำเป็นที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย อย่างไรก็ตามบริษัทฯ จะใช้ข้อมูลของท่านเพื่อวัตถุประสงค์ที่ได้แจ้งไว้ข้างต้นเท่านั้น
ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อยกเว้นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ท่านมีสิทธิในการขอเข้าถึง และ/หรือขอรับสำเนาการโอนย้าย แก้ไข ลบ ทำลาย หรือทำให้ข้อมูลกลายเป็นข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตนในส่วนข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ทั้งนี้ บริษัทฯ อาจไม่สามารถให้บริการ หรืออำนวยความสะดวกให้แก่ท่านได้อย่างเต็มสิทธิด้วยเหตุจากการขอให้ลบ หรือทำลายข้อมูลดังกล่าวได้
หากท่านไม่ต้องการให้บริษัทเผยแพร่ภาพถ่าย หรือวีดีโอที่มีท่านปรากฏอยู่ ท่านสามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ในวันเข้าร่วมประชุม หรือแจ้งมายังช่องทางการติดต่อด้านล่าง เพื่อขอให้ระงับไม่เผยแพร่ภาพ หรือวีดีโอที่มีท่านปรากฏอยู่ได้
ทั้งนี้ท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆในการดำเนินการตามสิทธิข้างต้น โดยบริษัทฯ จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาตามคำร้องของท่านภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทฯ ได้รับคำร้องดังกล่าว
5.ความปลอดภัยของข้อมูล
บริษัทฯ มีมาตราการควบคุมเพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต การเปลี่ยนแปลง การเปิดเผย และการใช้ที่ไม่ถูกต้อง บริษัทฯ จะติดตามเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม แม้ว่าบริษัทฯ จะพยายามอย่างเต็มที่ในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน แต่อาจมีความไม่สมบูรณ์แบบบางประการเกิดขึ้นได้ ซึ่งเป็นปกติทั่วไปของมาตราการการรักษาความปลอดภัย
กรณีที่ท่านต้องการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูล หรือร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านสามารถติดต่อบริษัทฯ ได้โดยตรงที่
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
15 ถนนสุขสวัสดิ์ ซอย 36 แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140
โทร 02 4270088 ต่อ 2203
อีเมล : dpo@srithaisuperware.com
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ได้ติดตั้งและใช้กล้องวงจรปิดเพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และผู้มาติดต่อ ซึ่งบริษัทฯออกประกาศความเป็นส่วนตัวฉบับนี้เพื่ออธิบายการเก็บ รวบรวม ใช้ และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านผ่านการใช้กล้องวงจรปิด ดังต่อไปนี้
ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ เก็บรวบรวม
บริษัทฯ ติดตั้งกล้องวงจรปิดบริเวณจุดสำคัญต่างๆ ทั่วพื้นที่ภายในของบริษัทฯ เพื่อบันทึกภาพและวิดีโอของบุคคล รวมทั้งทรัพย์สินของบุคคลเหล่านั้น (เช่น กระเป๋า อุปกรณ์พกพา) ซึ่งเข้ามาในบริเวณพื้นที่ และอาจเก็บรวบรวมข้อมูลดังกล่าวของท่านไว้
วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
บริษัทฯ เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
โดยบริษัทฯ อาศัยฐานทางกฎหมายในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวข้างต้น เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน อันเป็นการจำเป็นเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทฯ รวมถึงการปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรวมถึงกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย ชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อบุคคลที่สาม (รวมถึงผู้ให้บริการและพันธมิตรทางธุรกิจของบริษัทฯ) ในกรณีที่บริษัทฯ พิจารณาว่ามีความจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลนั้นเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ในประกาศฉบับนี้ และอาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านต่อหน่วยงานที่มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายหากมีความจำเป็นเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของบริษัทฯ และเพื่อสนับสนุนหรือช่วยเหลือหน่วยงานดังกล่าว
ระยะเวลาจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้เป็นระยะเวลา 5 เดือน ซึ่งเป็นระยะเวลาเท่าที่จำเป็น สมเหตุสมผล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ระบุในประกาศฉบับนี้ หรืออาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเป็นระยะเวลายาวนานกว่าหากมีกรณีจำเป็นตามกฎหมายที่ใช้บังคับ หรือจำเป็นต้องเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไว้เพื่อการจัดการข้อพิพาทหรือกระบวนการทางกฎหมายซึ่งอาจเกิดขึ้น เมื่อหมดความจำเป็นหรือสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ จะลบ ทำลาย หรือทำให้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวตนได้ทันที
สิทธิในข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
อย่างไรก็ดี บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิในการพิจารณาข้อเรียกร้องการใช้สิทธิของท่าน ซึ่งบริษัทฯ อาจปฏิเสธสิทธิของท่าน โดยพิจารณาจากความจำเป็นของฐานในการเก็บ รวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลโดยชอบด้วยกฎหมายของบริษัทฯ ตามที่ได้แจ้งไว้ข้างต้น
การติดต่อบริษัท
หากท่านมีความประสงค์ที่จะใช้สิทธิของท่านที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล หรือมีข้อสงสัย หรือ เรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้ประกาศความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัทฯ ที่
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
15 ถนนสุขสวัสดิ์ ซอย 36 แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140
โทร 02 4270088 ต่อ 2203
อีเมล : dpo@srithaisuperware.com
*ประกาศความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นและให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน จากการเข้างานมหกรรมสินค้า ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้กำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงแนวทางในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้างานมหกรรมได้ทราบ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลแล ะสิทธิตามกฎหมายดังนี้
ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ เก็บรวบรวม
บริษัทฯ ได้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ประมวลผล ใช้ และ/ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้จำแนกประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์และฐานในการประมวลผลข้อมูล
ฐานสัญญา และฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย
ฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย และฐานความยินยอม (กรณีเกี่ยวข้องกับข้อมูลอ่อนไหว)
สิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูล
ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อยกเว้นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ท่านมีสิทธิในการขอเข้าถึง ขอรับสำเนาการโอนย้าย แก้ไข ลบ ทำลาย จำกัดการประมวลผล ถอนความยินยอม หรือทำให้ข้อมูลกลายเป็นข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตนในส่วนข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ทั้งนี้ บริษัทฯ อาจไม่สามารถให้บริการ หรืออำนวยความสะดวกให้แก่ท่านได้อย่างเต็มสิทธิด้วยเหตุจากการขอให้ลบ หรือทำลายข้อมูลดังกล่าวได้
หากท่านไม่ต้องการให้บริษัทฯ เผยแพร่ภาพถ่าย หรือวีดีโอที่มีท่านปรากฏอยู่ ท่านสามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ในวันเข้างานมหกรรมสินค้า หรือแจ้งมายังช่องทางการติดต่อด้านล่าง เพื่อขอให้ระงับไม่เผยแพร่ภาพ หรือวีดีโอที่มีท่านปรากฏอยู่ได้
ทั้งนี้ ท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆในการดำเนินการตามสิทธิข้างต้น โดยบริษัทฯ จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาตามคำร้องของท่านภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทฯ ได้รับคำร้องดังกล่าว
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามระยะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น โดยระยะเวลาเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอาจเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด (ถ้ามี) โดยคำนึงถึงอายุความตามกฎหมายสำหรับการดำเนินคดีที่อาจเกิดขึ้นจากหรือเกี่ยวข้องกับเอกสารหรือข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ เก็บรวบรวมไว้ในแต่ละรายการ โดยคำนึงถึงแนวปฏิบัติของบริษัทฯ และของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องสำหรับข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภทเป็นสำคัญ
ช่องทางการติดต่อ
กรณีที่ท่านต้องการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลเพื่อยื่นคำร้องขอดำเนินการตามสิทธิข้างต้น หรือร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านสามารถติดต่อบริษัทฯ ได้โดยตรงที่
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
15 ถนนสุขสวัสดิ์ ซอย 36 แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140
โทร 02 4270088 ต่อ 2203
อีเมล : dpo@srithaisuperware.com
*เอกสารแจ้งการประมวลผลข้อมูลฉบับนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นและให้ความสำคัญในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน จากการเข้างานมหกรรมสินค้า ซึ่งบริษัทฯ ได้ทำการเก็บรวบรวมและใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ดังนั้น บริษัทฯ จึงได้กำหนดมาตรการที่เหมาะสมสำหรับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล รวมถึงแนวทางในการปฏิบัติตาม พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้างานมหกรรมได้ทราบ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูลแล ะสิทธิตามกฎหมายดังนี้
ข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ เก็บรวบรวม
บริษัทฯ ได้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ประมวลผล ใช้ และ/ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้จำแนกประเภทของข้อมูลส่วนบุคคลดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์และฐานในการประมวลผลข้อมูล
ฐานสัญญา และฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย
ฐานประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย และฐานความยินยอม (กรณีเกี่ยวข้องกับข้อมูลอ่อนไหว)
สิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูล
ภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมายและข้อยกเว้นตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ท่านมีสิทธิในการขอเข้าถึง ขอรับสำเนาการโอนย้าย แก้ไข ลบ ทำลาย จำกัดการประมวลผล ถอนความยินยอม หรือทำให้ข้อมูลกลายเป็นข้อมูลที่ไม่ระบุตัวตนในส่วนข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ทั้งนี้ บริษัทฯ อาจไม่สามารถให้บริการ หรืออำนวยความสะดวกให้แก่ท่านได้อย่างเต็มสิทธิด้วยเหตุจากการขอให้ลบ หรือทำลายข้อมูลดังกล่าวได้
หากท่านไม่ต้องการให้บริษัทฯ เผยแพร่ภาพถ่าย หรือวีดีโอที่มีท่านปรากฏอยู่ ท่านสามารถแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ ในวันเข้างานมหกรรมสินค้า หรือแจ้งมายังช่องทางการติดต่อด้านล่าง เพื่อขอให้ระงับไม่เผยแพร่ภาพ หรือวีดีโอที่มีท่านปรากฏอยู่ได้
ทั้งนี้ ท่านไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆในการดำเนินการตามสิทธิข้างต้น โดยบริษัทฯ จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาตามคำร้องของท่านภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทฯ ได้รับคำร้องดังกล่าว
การเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล
บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามระยะเวลาที่จำเป็นเท่านั้น โดยระยะเวลาเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลอาจเปลี่ยนแปลงไปขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่กำหนดในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล นอกจากนี้ บริษัทฯ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด (ถ้ามี) โดยคำนึงถึงอายุความตามกฎหมายสำหรับการดำเนินคดีที่อาจเกิดขึ้นจากหรือเกี่ยวข้องกับเอกสารหรือข้อมูลส่วนบุคคลที่บริษัทฯ เก็บรวบรวมไว้ในแต่ละรายการ โดยคำนึงถึงแนวปฏิบัติของบริษัทฯ และของภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้องสำหรับข้อมูลส่วนบุคคลแต่ละประเภทเป็นสำคัญ
ช่องทางการติดต่อ
กรณีที่ท่านต้องการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของข้อมูลเพื่อยื่นคำร้องขอดำเนินการตามสิทธิข้างต้น หรือร้องเรียนเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยเรื่องการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ท่านสามารถติดต่อบริษัทฯ ได้โดยตรงที่
บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน)
15 ถนนสุขสวัสดิ์ ซอย 36 แขวงบางปะกอก เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพมหานคร 10140
โทร 02 4270088 ต่อ 2203
อีเมล : dpo@srithaisuperware.com
*ประกาศความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ ประกาศเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2565
แบบฟอร์มขอใช้สิทธิต่างๆ ตาม พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ซึ่งขอให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน เพื่อให้เจ้าของข้อมูล เข้ามาดาวน์โหลดเอกสารและกรอก เพือยื่นคำร้องต่างๆของบริษัทฯ)
คำร้องขอใช้สิทธิในการเข้ำถึง/สำเนา/เปิดเผยการได้มาของข้อมูล
คำร้องขอใช้สิทธิในการถอนความยินยอม
คำร้องขอใหเ้ปิดเผยข้อมูลแก่หน่วยงานของรัฐ
คำร้องขอใช้สิทธิในการลบข้อมูล/ทำลาย/ทำให้ไม่สามารถระบุตัวตนได้
ข้อกฎหมายและสิทธิส่วนบุคคล
นโยบายเกี่ยวกับการใช้งาน Cookies
นโยบายการใช้คุกกี้นี้จะอธิบายถึงประเภท เหตุผล และลักษณะการใช้ คุกกี้บนเว็บไซค์นี้ รวมถึงวิธีการจัดการคุกกี้ตังนี้
คุกกี้ (Cookies) คืออะไร ?
คุกกี้ คือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ขนาเล็ก (text file) ที่จะถูกติตตั้ง หรือบันทึกลงบนคอมพิวเตอหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของท่านเมื่อท่านเข้าชมเบไซค์ คุกกี้จะจดจำข้อมูลการใช้งานเว็บไซค์ของท่าน
ทั้งนี้ เราจะเรียกเทคโนโลยีอื่นที่ทำหน้าที่คล้ายคลึงกันว่าคุกกี้ด้วย
เราใช้ คุกกี้อย่างไรบ้าง ?
เราจะใช้คุกกี้เมื่อท่านได้เข้าเยี่ยมชมเว็บไซค์ของเรา โดยการใช้งานคุกกี้ของเราแบ่งออกตามลักษณะของการใช้งานได้ดังนี้
คุกกี้ที่จำเป็น (Strictly Necessary Cookies) คุกกี้ประเภฑนี้มีความจำเป็นต่อการทำงานของเว็บไซค์เพื่อให้เบซสามารถทำานด้เป็นปกติ มีความปลอดภัย และทำให้ท่านสามารถเข้าใช้เว็บไซต์ได้
เช่น การ เog in เข้าสู่เว็บไซต์ การยืนยันตัวตน ทั้งนี้ ท่านไม่สามารถปิตการใช้งานของคุกกี้ประเภทนี้ผ่านระบบของเว็บไซค์ของเราได้
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์ (Analytic Cookies) คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซค์ของท่าน เพื่อให้เราสามารถวัดผล ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาเนื้อหาสินค้/บริการและเว็บไซค์ของเราเพื่อ
เพิ่มประสบการณ์ที่ดีในการใช้ว็บซของท่าน ทั้งนี้ หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้ประเภทนี้ เราจะไม่สามารถวัตผล ประเมิน และพัฒนาเว็บไซต์ได้
คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย (Targeting Cookies) คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและสร้างโปรไฟล์เกี่ยวกับตัวท่าน เพื่อให้เราสามารถ
วิคราะห์และนำเสนอเนื้อหา สินค้า/บริการ และ/หรือ โฆษณาที่หมาะสมกับความสนใจของท่านได้ ทั้งนี้หากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้ คุกกี้ประเภทนี้ ท่านอาจได้รับข้อมูลและโฆษณาทั่วไปที่ไม่ตรงกับ
ความสนใจของท่าน
การใช้คุกกี้โดยบุคคลที่สาม (Third-Party Cookies)
เว็บไซค์ของเรามีการใช้คุกดยบุคคลที่สาม ซึ่ลักษณะการใช้งานและการตั้งค่าจะเป็นไปตามคุกกี้ในข้อ 2 โดยท่านจะไม่สามารถเลือกตั้งค่าการใช้งานเฉพาะคุกกี้โดยบุคคลที่สามได้ในเว็บไซค์นี้
ทั้งนี้ เราไม่สามารถควบคุมการใช้ข้อมูลของบุคคลที่สามนั้นด้ ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อของบุคคลที่สาม นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Notice) และนโยบายการใช้คุกกี้ของบุคคลที่สาม ซึ่ง
แตกต่างจากเว็บไซค์ของเราได้ที่เว็บไซค์ของบุคคลที่สามนั้น ๆ
การจัดการคุกกี้
ท่านสามารถเลือกตั้งค่าคุกกี้แต่ละประเภท ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น Strictly Necessary Cookies) ได้โตยการตั้งค่าในเว็บบราวเซอร์ (web browser) เช่น ห้ามการติตตั้งคุกกี้ลงบนอุปกรณ์ของท่าน
ทั้งนี้ การปิดการใช้งานคุกกี้อาจส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้เว็บซต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
The Board of Directors had provided the opportunities for employees and stakeholders, having a channel for complaints and reporting illegal acts.
Suksawat Factory (Head Office)
15 Suksawat Road, Soi 36, Bangpakok
, Ratburana, Bangkok 10140
© 2024 Srithai Superware Public Company Limited. All Rights Reserved.